Thursday, August 22, 2013

วิปัสสนาคืออะไร

 ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตหัวข้อที่ผมนำมาโพสต์ในช่วงหลังๆนี้จะเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำสมาธิ สืบเนื่องจากตอนนี้ตัวผมเองสนใจเรื่องการทำสมาธิอยู่ และวันนี้ก็เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับสมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน โดยเรามักจะได้ยิน 2 คำนี้กันบ่อยจนบางครั้งเราก็นำมาใช้เรียกกันผิดๆถูกๆ วันนี้เลยขอนำเสนอเรื่องวิปัสสนาก่อนว่าคืออะไร(ตรงสีดำเข้มคือข้อความที่ผมอยากเน้นนะครับ)




วิปัสสนาคืออะไร

    วิปัสสนาก็คือ การเอาสติเข้าไปตามดูตามสังเกต เข้าไปจดจ่อ เข้าไปใส่ใจ ต่อสภาวะลักษณะที่ปรากฎในขณะนั้น และต่อความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปต่าง ๆ ทั้งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของรูปของนาม หรือของร่างกายของจิตใจ หรือของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สะสมข้อมูลที่สังเกตได้นั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ และนำข้อมูลที่ได้จากการตามดูตามสังเกตนั้น มาพินิจพิเคราะห์ พิจารณาโดยแยบคาย ให้เห็นว่ารูปนามนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือทุกข์ หรือความสุขที่ได้มานั้นคุ้มกับความทุกข์ที่ต้องเผชิญหรือไม่ อยู่ในอำนาจหรือไม่ เป็นไปตามความปรารถนาหรือไม่ ควรค่าแก่การยึดมั่นหรือไม่ ควรหรือไม่ที่จะถือว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ( ถ้าจะถือว่าสิ่งใดเป็นเราแล้วสิ่งนั้นก็ควรจะอยู่ในอำนาจ และเป็นไปตามความปรารถนาของเราอย่างแท้จริง ) ทั้งนี้ก็เพื่อทำการศึกษา ให้เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนามทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปนามภายใน ภายนอก ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต คือให้รู้แจ้งเห็นจริงอย่างชัดเจนด้วยปัญญาของตนเองอย่างทะลุปรุโปร่ง โดยไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ และไม่ต้องอาศัยความเชื่อผู้อื่นอีกต่อไป ( เพราะรู้ด้วยปัญญาของตนเองแล้ว ) จนกระทั่งเห็นแจ้งว่าภายในเป็นอย่างไรภายนอกก็เป็นอย่างนั้น ปัจจุบันเป็นอย่างไรอดีตและอนาคตก็เป็นอย่างนั้น ไม่ว่ารูปนามใด ๆ ในเวลาไหน ๆ ก็เป็นอย่างนั้นทั้งนี้ควรทำประกอบกันทั้งการตามดูตามสังเกต และการพิจารณาโดยแยบคาย ไม่ใช่ทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการตามดูตามสังเกตแล้วไม่นำข้อมูลที่ได้นั้น มาพิจารณาโดยแยบคาย ก็จะไม่ได้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นอย่างเต็มที่ ส่วนการตั้งหน้าตั้งตาพิจารณาโดยแยบคาย โดยไม่มีข้อมูลจากการตามดูตามสังเกตอย่างมากพอ การพิจารณานั้นก็อาจผิดพลาดได้ ดังนั้นจึงควรตามดูตามสังเกตไปเรื่อย ๆ แล้วนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาโดยแยบคายเป็นระยะ ๆ สลับกันไป

     เมื่อพิจารณาอะไรไม่ออกแล้ว ก็แสดงว่าข้อมูลที่สังเกตได้มานั้นยังไม่มากพอที่จะพิจารณาต่อไป ก็พักการพิจารณาเอาไว้ก่อนอย่าท้อใจเพราะเป็นธรรมดาของการปฏิบัติ ใช้สติตามดูตามสังเกตรูปนามกันต่อไป เมื่อข้อมูลมากขึ้นก็จะพิจารณาต่อไปได้เอง หรือบางครั้งเมื่อข้อมูลมากพอแล้ว แม้จะไม่ได้ตั้งใจพิจารณาจิตก็จะแล่นไปได้เอง คือถึงไม่ได้ตั้งใจพิจารณาก็เหมือนพิจารณา เมื่อเห็นธรรมชาติที่แท้จริงชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ในที่สุดก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาจากส่วนลึกที่สุดของจิตใจของตนเอง เป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูปนามทั้งปวงอย่างแรงกล้า เมื่อเบื่อหน่ายก็จะเกิดความรู้สึกคลายความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามทั้งปวงลงไป เมื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นมากเท่าไร กิเลสทั้งหลายที่อยู่ในระดับความหยาบ / ความประณีตเดียวกันกับความยึดมั่นถือมั่นนั้น ก็จะถูกทำลายลงไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการทำลายที่ต้นตอของกิเลสนั้นโดยตรง จึงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาได้อีกเลย และความรู้สึกนี้จะแผ่ซ่านไปทั่วทุกอณูของร่างกาย ( คล้ายกับเวลาที่ประสบกับความตกใจ ความกลัว หรือความเสียใจอย่างสุดขีด จนกระทั่งความรู้สึกเหล่านั้นแผ่ซ่านไปทั่วทุกรูขุมขน ฉัน นั้น ) สำนวนในพระไตรปิฎกจะใช้คำว่า เมื่อเบื่อหน่ายก็จะคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดก็จะหลุดพ้น .

       ที่กล่าวมานี้เป็นการเกิดขึ้นของปัญญาขั้นมรรคผล ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงสุด จนมีอิทธิพลไปถึงจิตใต้สำนึกที่อยู่ลึกที่สุด แต่ถ้าเห็นธรรมชาติของรูปนามยังไม่ชัดเจนพอ หรือยังไม่มากพอ ก็จะเกิดความรู้สึกคลายความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน แต่ความรู้สึกนั้นจะอยู่แค่ระดับจิตสำนึก หรือลงไปถึงจิตใต้สำนึกบางส่วน จะทำให้เกิดการละกิเลสได้ชั่วคราว ที่เรียกว่าตทังคประหาร ผู้ปฏิบัติบางคนเมื่อปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้ว ก็อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าตนเองบรรลุมรรคผลแล้วก็ได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติทั้งหลายพึงระวัง และพิจารณาให้ดี เพราะตทังคประหารนั้นนานวันไปก็จะเสื่อมลงไปได้ เมื่อมีเหตุมีปัจจัยมากพอ กิเลสก็จะฟูขึ้นมาได้อีก การทดสอบ / ตรวจสอบกิเลสที่เหลืออยู่ และคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวของมรรคผลแต่ละขั้น ( เช่น ความบริบูรณ์ของศีล ความบริบูรณ์ของสมาธิ ความบริบูรณ์ของสติ ) จะเป็นเครื่องตัดสินที่ดีที่สุด สำหรับกิเลสที่ละได้แล้วนั้น จะต้องละได้เพราะความบริสุทธิ์ของจิตจริง ๆ คือกิเลสนั้นจะต้องไม่เกิดขึ้นอีกอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่ละได้ด้วยการข่มไว้ด้วยสติ ข่มไว้ด้วยสมาธิ หรือการคอยพิจารณาเพื่อข่มไว้ การทดสอบก็ควรทำในสิ่งแวดล้อมที่บีบคั้นและยาวนาน เพื่อกระตุ้นให้กิเลสข้อนั้นเกิดขึ้น ( ควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือนในการทดสอบ แต่ถ้าให้ดีก็ควรใช้เวลาให้มากกว่านี้ )

ที่มา
http://www.dhammathai.org

Tuesday, August 20, 2013

รู้อสุภะ รู้อย่างไร


รู้อสุภะ รู้อย่างไร

วัดนี้เราไม่ปฏิบัติตามความรู้ความเห็นความต้องการของคน แต่เราปฏิบัติเพื่อหลักธรรมหลักวินัย หลักศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เพื่อประชาชนทั้งแผ่นดินซึ่งอาศัยศาสนา อันเป็นหลักปกครองที่ถูกต้องดีงาม ที่เนื่องมาจากการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยดีของพระเณร ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาของประชาชนชาวพุทธ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สนใจที่จะปฏิบัติต่อผู้ใดเพราะความเกรงใจเป็นใหญ่ ให้นอกเหนือจากธรรมจากวินัยอันเป็นหลักศาสนาไป หากใจเกิดโอนเอนไปตามความรู้ความเห็นของผู้หนึ่งผู้ใด หรือของคนหมู่มากซึ่งหาประมาณไม่ได้แล้ว วัดและศาสนาก็จะหาประมาณหรือหลักเกณฑ์ไม่ได้ วัดที่เอนเอียงไปตามโลกโดยไม่มีเหตุผลเป็นเครื่องยืนยันรับรอง ก็จะหาเขตหาแดนหาประมาณไม่ได้ และจะกลายเป็นวัดไม่มีเขตมีแดนไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีเนื้อหนังแห่งศาสนาติดอยู่บ้างเลย
ผู้หาของดีมีคุณค่าไว้เทิดทูนสักการบูชาก็คือคนฉลาด จะหาของดี เนื้อแท้ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจก็จะหาไม่ได้เลย เพราะมีแต่สิ่งจอมปลอมเหลวไหล เต็มวัดเต็มวาเต็มพระเต็มเณรเถรชี เต็มไปหมดทุกแห่งทุกหนตำบลหมู่บ้าน ไม่ว่าวัดไม่ว่าบ้าน ไม่ว่าทางโลกทางธรรม คละเคล้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความจอมปลอมหลอกลวงหาสาระสำคัญไม่ได้
ด้วยเหตุนี้จึงต้องแยกแยะออกเป็นสัดเป็นส่วนว่า ศาสนธรรมกับโลกแม้อยู่ด้วยกันก็ไม่เหมือนกัน พระเณรวัดวาอาวาสศาสนา ตั้งอยู่ในบ้านตั้งอยู่นอกบ้าน หรือตั้งอยู่ในป่าก็ไม่เหมือนบ้าน คนมาเกี่ยวข้องก็ไม่เหมือนคน ต้องเป็นวัดเป็นพระ เป็นธรรมวินัยอันเป็นตัวของตัวอยู่เสมอ ไม่เป็นน้อย ไม่ขึ้นกับผู้ใดสิ่งใด หลักนี้จึงเป็นหลักสำคัญที่จะสามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจของคนที่มีความเฉลียวฉลาด หาหลักความจริงไว้เป็นที่สักการบูชาหรือเป็นขวัญใจได้ เราคิดในแง่นี้มากกว่าแง่อื่น ๆ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นองค์ศาสดาก็ทรงคิดในแง่นี้เหมือนกัน ดังจะเห็นได้ในเวลาที่พระองค์ประทับอยู่โดยเฉพาะกับพระนาคิตะเป็นต้น
เวลามีประชาชนส่งเสียงเอิกเกริกเฮฮาเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งว่า นาคิตะ นั่นใครส่งเสียงอึกทึกวุ่นวายกันมานั้น เหมือนชาวประมงเขาแย่งปลากัน เราไม่ประสงค์สิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นการทำลายศาสนา ศาสนาเป็นสิ่งที่รักษาไว้สำหรับโลกให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข เหมือนกับน้ำที่ใสสะอาดที่รักษาไว้แล้วด้วยดี เป็นเครื่องอาบดื่มใช้สอยแก่ประชาชนทั่วไปได้ด้วยความสะดวกสบาย ศาสนาก็เป็นเช่นน้ำอันใสสะอาดนั้น จึงไม่ต้องการให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้ามารบกวน ทำศาสนาให้ขุ่นเป็นตมเป็นโคลนไป นี่คือพระพุทธพจน์ที่ทรงแสดงกับพระนาคิตะ
จากนั้นก็สั่งให้พระนาคิตะไปบอกเขาให้กลับไปเสีย กิริยาการแสดงออกเช่นนั้นกับเวลาค่ำคืนเช่นนี้ ไม่ใช่เวลาที่จะมาเกี่ยวข้องกับพระ ซึ่งท่านอยู่ด้วยความวิเวกสงัด กิริยาที่สุภาพดีงามเป็นสิ่งที่มนุษย์ผู้ฉลาดคัดเลือกมาใช้ได้ และเวลาอื่นมีถมไป เวลานี้ท่านต้องการความสงัด จึงไม่ควรมารบกวนท่านให้เสียเวลาและลำบาก โดยไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด นี่คือหลักดำเนินอันเป็นตัวอย่างจากองค์ศาสดาของพวกเรา ไม่ใช่จะคลุกคลีตีโมงกับประชาชนญาติโยมโดยไม่มีขอบเขตเหตุผล ไม่มีกฎมีเกณฑ์ ไม่มีเวล่ำเวลาดังที่เป็นอยู่ ซึ่งราวกับศาสนาและพระเณรเราเป็นโรงกลั่นสุรา เป็นเจ้าหน้าเจ้าตาจ่ายสุราให้ประชาชนยึดไปมอมเมากันไม่มีวันสร่างซา แต่ศาสนาเป็นยาแก้ความเมามัว พระเณรเป็นหมอรักษาความเมามัวของตนและของโลก ไม่ใช่นักจ่ายสุราเครื่องมึนเมาจนหมดความรู้สึกในความนึกกระดากอาย
ใครก้าวเข้ามาวัดก็ว่าเขาเลื่อมใสศรัทธา อนุโลมผ่อนผันไปจนลืมเนื้อลืมตัวลืมธรรมลืมวินัย ลืมกฎระเบียบอันดีงามของวัดของพระของเณรไปหมด จนกลายเป็นการทำลายตนเองและวัดวาศาสนาให้เสียไปวันละเล็กละน้อย และกลายเป็นตมเป็นโคลนไปหมด ทั้งชาววัดชาวบ้านหาที่ยึดเป็นหลักเกณฑ์ไม่ได้ พระเต็มไปด้วยมูตรด้วยคูถคือสิ่งเหลวไหลภายในวัดในตัวพระเณร
ด้วยเหตุนี้เราทุกคนผู้บวชในพระศาสนา จงสำนึกในข้อเหล่านี้ไว้ให้มาก อย่าเห็นสิ่งใดมีคุณค่าเหนือธรรมเหนือวินัย อันเป็นหลักใหญ่สำหรับรวมจิตใจของโลกชาวพุทธให้ได้รับความมั่นใจ ศรัทธาและร่มเย็น ถ้าหลักธรรมหลักวินัยได้ขาดหรือด้อยไปเสีย ประโยชน์ของประชาชนชาวพุทธที่จะพึงได้รับก็ต้องด้อยไปตาม จนถึงกับหาที่ยึดเหนี่ยวไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ศาสนามีเต็มคัมภีร์ใบลาน มีอยู่ทุกแห่งทุกหน พระไตรปิฎกไม่อดไม่อั้น เต็มอยู่ทุกวัดทุกวา แต่สาระสำคัญที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติ ให้ประชาชนทั้งหลายได้รับความเชื่อความเลื่อมใส ยึดเป็นหลักจิตหลักใจไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์หรือเป็นสิริมงคลแก่ตนนั้นกลับไม่มี ทั้ง ๆ ที่ศาสนายังมีอยู่ เราก็เห็นอย่างชัดเจนอยู่แล้วเวลานี้
หลักใหญ่ที่จะทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรือง และเป็นสักขีพยานแก่ประชาชนผู้เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อหวังบุญและสิริมงคลทั้งหลายกับวัด ก็คือพระเณร ถ้าพระเณรตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมหลักวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ นั้นแลคือ ผู้รักษาไว้ซึ่งแบบฉบับอันดีงามแห่งพระศาสนาและมรรคผลนิพพานไม่สงสัย เขาจะยึดเป็นหลักเป็นเกณฑ์ได้ เพราะคนในโลกนี้คนฉลาดยังมีอยู่มาก ส่วนคนโง่แม้มีมากจนล้นโลกก็หาประมาณไม่ได้ เมื่อถูกใจเขาเขาก็ชมเชย การชมเชยนั้นก็ชมเชยแบบความโง่ของเขา ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าไม่พอใจก็ตำหนิติเตียน ความตำหนิติเตียนนั้น ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ทั้งเขาและเราด้วย แต่ผู้เฉลียวฉลาดชมเชยนั้นยึดเป็นหลักจิตใจได้ แก่เขาด้วยแก่เราด้วย เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ชมเชยพระสงฆ์ก็ชมเชยด้วยหลักความจริงความฉลาด พระสงฆ์ผู้ตระหนักในเหตุผลก็สามารถทำตนให้เป็นเนื้อนาบุญของเขาได้ด้วย เขาก็ได้รับประโยชน์ด้วย แม้ตำหนิก็มีเหตุผลที่ควรยึดเป็นคติได้ ด้วยเหตุนี้เราผู้ปฏิบัติพึงตระหนักในข้อนี้ให้ดี
ไปที่ไหนอย่าลืมเนื้อลืมตัวว่าตนเป็นนักปฏิบัติ เป็นองค์แทนพระศาสดาในการดำเนินพระศาสนา และประกาศพระศาสนาด้วยการปฏิบัติ โดยไม่ถึงกับต้องประกาศสั่งสอนประชาชนให้เข้าใจในอรรถในธรรมโดยถ่ายเดียว แม้เพียงข้อวัตรปฏิบัติที่ตนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น ก็เป็นทัศนียภาพอันดีงามให้ประชาชนเกิดความเชื่อความเลื่อมใสได้ เพราะการได้เห็นได้ยินของตนอยู่แล้ว ยิ่งได้มีการแสดงอรรถธรรม ให้ถูกต้องตามหลักของการปฏิบัติโดยหลักธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นการประกาศพระศาสนาโดยถูกต้องดีงาม ให้สาธุชนได้ยึดเป็นหลักใจ ศาสนาก็มีความเจริญรุ่งเรืองไปโดยลำดับในหัวใจชาวพุทธ
อยู่ที่ใดไปที่ใดอย่าลืมหลักสำคัญคือศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักงานสำคัญของพระ นี้แลคือหลักงานสำคัญของพระเราทุกรูป ที่เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรสปรากฏในพระพุทธศาสนาว่าเป็นลูกศิษย์พระตถาคต เป็นอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ได้เป็นอยู่เพียงโกนผม โกนคิ้วนุ่งเหลืองห่มเหลืองเท่านั้น อันนั้นใครทำเอาก็ได้ไม่สำคัญ สำคัญที่การประพฤติปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ศีลพยายามระมัดระวังรักษาอย่าให้ขาดให้ด่างพร้อย มีความระเวียงระวังอยู่ทุกอิริยาบถด้วยสติปัญญาของเรา อะไรจะขาดตกบกพร่องไปก็ตาม ศีลอย่าให้ขาดตกบกพร่อง เพราะเป็นสมบัติอันสำคัญประจำกับเพศของตน หวังพึ่งเป็นพึ่งตายกับศีลของตนโดยแท้
สมาธิที่ยังไม่เกิดก็พยายามฝึกฝนอบรมดัดแปลงจิตใจ ฝ่าฝืนทรมานจิตใจตัวพยศเพราะอำนาจของกิเลสนั้น ให้เข้าสู่เงื้อมมือของความเพียร มีสติปัญญาเป็นเครื่องสกัดลัดกั้นความคะนองของใจ ให้เข้าสู่ความสงบเย็นใจจนได้ นี่ก็เป็นสมาธิสมบัติสำหรับพระเรา ปัญญาคือความฉลาด ปัญญาจะใช้ได้ในที่ทุกสถานตลอดกาลทุกเมื่อ ไม่ว่ากิจการภายนอกภายในให้นำปัญญาออกใช้เสมอ ยิ่งเข้าสู่ภายในคือการพิจารณากิเลสอาสวะประเภทต่าง ๆ ด้วยแล้ว ปัญญายิ่งเป็นของสำคัญมาก ปัญญากับสตินี้แยกกันไม่ออก จะต้องทำหน้าที่ไปพร้อม ๆ กัน สติเป็นผู้ควบคุมงานคือปัญญาที่กำลังทำงาน หากสติได้เผลอไปเมื่อไรงานนั้นก็ไม่สำเร็จเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะฉะนั้นสติจึงเป็นธรรมจำเป็นที่จะต้องแนบนำในงานของตนอยู่เสมอ นี่คืองานของพระ ให้ท่านทั้งหลายจำไว้อย่างถึงใจตลอดไป อย่าชินชา จะกลายเป็นพระหน้าด้านไปโดยที่โลกเขาเคารพกราบไหว้ทุกวันเวลา
ออกพรรษานี้ต่างองค์ต่างก็จะต้องพลัดพรากจากกันไป ตามหน้าที่และความจำเป็น และกฎคือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ห้ามไม่อยู่ เพราะเป็นคติธรรมดา เป็นเรื่องใหญ่ แม้ตัวผมเองก็ไม่ได้แน่ใจว่าจะอยู่กับท่านทั้งหลายไปนานสักเท่าไร เพราะอยู่ใต้กฎอนิจฺจํเหมือนกัน ในขณะที่อยู่ด้วยกัน พึงตั้งใจสำเหนียกศึกษาให้ถึงใจ สมกับเรามาศึกษาอบรมและประพฤติปฏิบัติ
คำว่าปัญญาดังที่กล่าวเมื่อสักครู่นี้ คือการพิจารณาคลี่คลายดูส่วนต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องทั้งภายนอกภายใน (ต้องขออภัยท่านนักธรรมะด้วยกันทั้งหญิงทั้งชายที่ตกอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน กรุณาพิจารณาเป็นธรรม) รูป ส่วนมากก็เป็นรูปหญิง-ชาย ในหลักธรรมท่านกล่าวไว้ว่า ไม่มีรูปใดที่จะเป็นข้าศึกแก่เพศสมณะเรายิ่งกว่ารูปหญิง-ชาย เสียงหญิง-ชาย กลิ่นหญิง-ชาย รสของหญิง-ชาย เครื่องสัมผัสถูกต้องของหญิง-ชาย นี้เป็นเอกที่จะให้เป็นโทษเป็นภัยแก่สมณะ ให้พึงสำรวมระวังให้มากยิ่งกว่าการสำรวมระวังในเรื่องอื่น ๆ สติปัญญาก็ให้คลี่คลายจุดที่สำคัญนี้มากยิ่งกว่าคลี่คลายการงานอย่างอื่น ๆ
รูป ก็แยกแยะดูด้วยปัญญาให้เห็นชัดเจน คำว่ารูปหญิง-ชายนั้นให้ชื่อตามสมมุติ ความจริงแล้วไม่ใช่หญิง-ชาย เป็นรูปธรรมดาเหมือนเรา ๆ ท่าน ๆ มีหนังหุ้มห่อทั่วสรรพางค์ร่างกาย เข้าไปภายในก็มีเนื้อมีหนังมีเอ็นมีกระดูก เต็มไปด้วยของปฏิกูลโสโครกด้วยกัน ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอาการใดที่ผิดแปลกจากรูปของเราไปเลย เป็นแต่เพียงว่าความสำคัญของใจนั้นมันว่าเป็นหญิง-ชาย คำว่าเป็นหญิง-ชายนั้น มันสลักลงไปภายในจิตใจอย่างลึกซึ้งด้วยความสำคัญของใจเอง ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เป็นความสำคัญต่างหาก
เสียงก็เหมือนกัน เสียงก็เป็นเสียงธรรมดา แต่เราหมายไปว่าเป็นเสียงวิสภาค เพราะฉะนั้นจึงทิ่มแทงเข้าในหัวใจบุรุษอย่างฝังลึก เฉพาะอย่างยิ่งนักบวชเรา และแทงทะลุเข้าไปจนลืมเนื้อลืมตัว ขั้วหัวใจขาดสะบั้นทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ ขั้วหัวใจขาดเปื่อยเน่าเฟะแต่ไม่ตาย เจ้าตัวกลับเพลินฟังเพลงเสียงขั้วหัวใจขาดอย่างไม่มีวันจืดจางอิ่มพอ
กลิ่น ก็กลิ่นธรรมดาเหมือนเรานี่เพราะเป็นกลิ่นคน ถึงจะเอาน้ำอบน้ำหอมจากเมืองเทพเมืองพรหมที่ไหนมาประมาชโลม ก็เป็นกลิ่นของอันนั้นต่างหาก ไม่ใช่กลิ่นของหญิง-ชายแท้แม้นิดเดียวเลย จงพิจารณาแยกแยะออกดูให้ละเอียดถี่ถ้วน
รสก็เพียงความสัมผัสกัน การสัมผัสก็ไม่เห็นผิดแปลกอะไรกับอวัยวะเราสัมผัสอวัยวะเราเอง อวัยวะนั้น ๆ ก็เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เหมือนกัน ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลกกัน แน่ะ เราต้องพิจารณาให้ชัดเจนอย่างนี้ แล้วก็พิจารณาตนเทียบเคียงกับรูปเสียงกลิ่นรสเครื่องสัมผัส ของคำว่าหญิง-ชายนั้น เข้ามาเทียบเคียงกับรูปเสียงกลิ่นรส ของเรา ก็ไม่มีอะไรผิดแปลกกันโดยหลักธรรมชาติโดยหลักความจริง นอกจากความเสกสรรปั้นยอของใจที่มันคิดไปเสกสรรไปเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้จึงต้องอาศัยปัญญาพิจารณาคลี่คลาย อย่าให้ความสำคัญในแง่ใดแง่หนึ่งที่จะเป็นข้าศึกแก่ตนเข้ามาแทรกสิงหรือทำลายจิตใจของตนได้ ให้สลัดปัดทิ้ง ด้วยปัญญาอันเป็นความจริง ลงสู่ความจริงว่า สักแต่ว่ารูป สักแต่ว่าเสียง สักแต่ว่ากลิ่น สักแต่ว่ารส สักแต่ว่าเครื่องสัมผัส ที่ผ่านแล้วหายไป ๆ ทั้งมวล เช่นเดียวกับสิ่งอื่น ๆ นี่คือการพิจารณาถูกต้อง และสามารถถอดถอนความยึดมั่นสำคัญผิดกับสิ่งนั้น ๆ ได้โดยลำดับไม่สงสัย
จะพิจารณาไปในวัตถุสิ่งใดก็ตามในโลกนี้ มันเต็มอยู่ด้วยกองอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา หาความจีรังถาวรไม่ได้ อาศัยสิ่งใดสิ่งนั้นก็จะพังลงไป วัตถุสิ่งใดก็ตาม ขึ้นชื่อว่ามีอยู่ในโลกนี้ล้วนแล้วแต่สิ่งที่จะต้องพังทลาย เขาไม่พังเราก็พัง เขาไม่แตกเราก็แตก เขาไม่พลัดพรากเราก็พลัดพราก เขาไม่จากเราก็จาก เพราะโลกนี้เต็มไปด้วยความจากความพลัดพรากกันอยู่แล้วโดยหลักธรรมชาติ ให้พิจารณาอย่างนี้ด้วยปัญญาให้ชัดเจนก่อนหน้าที่สิ่งเหล่านั้นจะพลัดพรากจากเรา หรือเราจะพลัดพรากจากสิ่งเหล่านั้น แล้วปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตใจก็มีความสุข นี่พูดถึงขั้นปัญญาในการพิจารณารูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่าง ๆ ทั้งข้างนอกข้างใน ทั้งส่วนหยาบ ส่วนละเอียด ย่อมพิจารณาในลักษณะเหล่านี้ทั้งสิ้น
สมาธิก็อธิบายบ้างแล้ว คำว่าสมาธิคือความแน่นหนามั่นคงของใจ เริ่มตั้งแต่ความสงบสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ของใจขึ้นไปจนถึงความสงบสุขละเอียดมั่นคง ใจถ้าไม่ได้ฝึกหัด ไม่ได้ดัดแปลง ไม่ได้บังคับทรมานด้วยอุบายต่าง ๆ มี สติปัญญา,ศรัทธาความเพียร เป็นเครื่องหนุนหลังแล้ว จะหาความสงบไม่ได้จนกระทั่งวันตาย ตายก็ตายไปเปล่า ๆ ตายด้วยความฟุ้งซ่านวุ่นวายส่ายแส่กับอารมณ์ร้อยแปด ไม่มีสติรู้สึกตัว ตายด้วยความไม่มีหลักมีเกณฑ์เป็นที่ยึดอาศัย ตายแบบว่าวเชือกขาดอยู่บนอากาศ ตามแต่จะถูกลมพาพัดไปไหน แม้ยังอยู่ก็อยู่ด้วยความไม่มีหลักมีเกณฑ์ เพราะความลืมตัวประมาทหาเหตุผลเป็นเครื่องดำเนินไม่ได้ อยู่แบบเลื่อนลอย คนเราทั้งคนถ้าอยู่แบบเลื่อนลอยไม่หาหลักที่ดียึด ก็ต้องไปแบบเลื่อนลอย จะเกิดผลประโยชน์อะไร หาความดีความแน่ใจในคติของตนที่ไหนได้ เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่รู้ ๆ อยู่อย่างนี้ จงสร้างความแน่นอนขึ้นที่ใจของเรา ด้วยความเป็นผู้หนักแน่นในสารคุณทั้งหลาย จะแน่ตัวเองทั้งยังอยู่ทั้งเวลาตายไป ไม่สะทกสะท้านหวั่นไหวกับความเป็นความตาย ความพลัดพรากจากสัตว์แลสังขารที่ใคร ๆ ต้องเผชิญด้วยกัน เพราะมีอยู่กับทุกคน
ปัญญาไม่ใช่จะเกิดขึ้นในลำดับที่สมาธิคือความสงบใจเกิดขึ้นแล้ว แต่ต้องอาศัยความฝึกหัดคิดค้นคว้าความพินิจพิจารณา ปัญญาจึงจะเกิดขึ้น โดยอาศัยสมาธิเป็นเครื่องหนุนอยู่แล้ว ลำพังสมาธินั้นจะไม่กลายเป็นปัญญาขึ้นมาได้ ต้องเป็นสมาธิอยู่ โดยดี ถ้าไม่ใช้ปัญญาพิจารณาต่างหาก สมาธิเพียงทำให้จิตมีความเอิบอิ่มมีความสงบตัว มีความพอใจกับอารมณ์คือสมถธรรม ไม่หิวโหยในความคิดโน้นคิดนี้ ไม่วุ่นวายส่ายแส่เท่านั้น เพราะจิตที่มีความสงบย่อมมีความเย็น ย่อมเอิบอิ่มในธรรมตามฐานแห่งความสงบของตน แล้วนำจิตที่มีความอิ่มในสมถธรรมนั้นออกพิจารณา คลี่คลายดูสิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญา ซึ่งในโลกนี้ไม่มีอันใดจะเหนืออนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไปได้ มันเต็มไปด้วยสภาพเดียวกัน จงใช้ปัญญาพินิจพิจารณา จะเป็นแง่ใดก็ตาม ตามแต่จริตนิสัยที่ชอบพอกับการพิจารณาในแง่นั้น ๆ โดยยกสิ่งนั้นขึ้นมาพิจารณาคลี่คลายด้วยความสนใจ ใคร่รู้ใคร่เห็นตามความจริงของมันจริง ๆ อย่าสักแต่พิจารณาโดยปราศจากเจตนาปราศจากสติกำกับ
เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอสุภะกับจิตที่เต็มไปด้วยราคะความกำหนัดยินดี นี้เป็นคู่ปรับหรือคู่แก้กันได้ดีและดีมาก จิตมีราคะมากเพียงไรให้พิจารณาอสุภะอสุภังมากเพียงนั้นหนักเพียงนั้น จนกลายเป็นป่าช้าผีดิบขึ้นให้เห็นประจักษ์ใจในร่างกายของเขาของเราทั่วโลกดินแดน ราคะตัณหานั้นจะกำเริบขึ้นไม่ได้เมื่อปัญญาหยั่งรู้ว่ามีแต่ปฏิกูลเต็มตัว ใครจะไปกำหนัดยินดีในปฏิกูล ใครจะไปกำหนัดยินดีในสิ่งที่ไม่สวยไม่งาม ในสิ่งที่อิดหนาระอาใจ นี่เป็นยาระงับอสุภะอสุภังประการหนึ่ง เป็นยาแก้โรคราคะตัณหาขนานเอกขนานหนึ่ง เมื่อพิจารณาสมบูรณ์เต็มที่แล้วให้จิตสงบตัวลงไปในวงแคบ
เมื่อจิตได้พิจารณาอสุภะอสุภังหลายครั้งหลายหน จนเกิดความชำนิชำนาญ พิจารณาคล่องแคล่วว่องไวทั้งรูปภายนอกทั้งรูปภายใน จะพิจารณาให้เป็นอย่างไรก็เป็นได้อย่างรวดเร็ว แล้วจิตก็จะรวมตัวเข้ามาสู่อสุภะภายใน และจะเห็นโทษแห่งอสุภะที่ตนวาดภาพไว้นั้นว่า เป็นเรื่องมายาประเภทหนึ่ง แล้วปล่อยวางทั้งสองเงื่อน คือเงื่อนอสุภะและเงื่อนสุภะ
ทั้งสุภะทั้งอสุภะสองประเภทนี้ เป็นสัญญาคู่เคียงกันกับเรื่องของราคะ เมื่อพิจารณาเข้าใจทั้งสองเงื่อนนี้เต็มที่แล้ว คำว่าสุภะก็สลายตัวลงไปหาความหมายไม่ได้ คำว่าอสุภะก็สลายตัวลงไปหาความหมายไม่ได้ ผู้ที่ให้ความหมายว่าเป็นสุภะก็ดีอสุภะก็ดีก็คือใจ ก็คือสัญญา สัญญาก็รู้เท่าแล้วว่าเป็นตัวหมาย เห็นโทษแห่งตัวหมายนี้แล้ว ตัวหมายนี้ก็ไม่สามารถที่จะหมายออกไปให้ใจติดและยึดถือได้อีก นั่น เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตก็ปล่อยวางทั้งสุภะทั้งอสุภะคือทั้งสวยงามทั้งไม่สวยงาม โดยเห็นเป็นเพียงตุ๊กตา เครื่องฝึกซ้อมของใจของปัญญาในขณะที่จิตยังยึด และปัญญาพิจารณาเพื่อถอดถอนยังไม่ชำนาญเท่านั้น
เมื่อจิตชำนาญ รู้เหตุผลทั้งสองประการคือ สุภะอสุภะนี้แล้ว ยังสามารถย้อนมาทราบเรื่องความหมายของตนที่ออกไปปรุงแต่งว่า นั้นเป็นสุภะนั่นเป็นอสุภะอีกด้วย เมื่อทราบความหมายนี้อย่างชัดเจนแล้ว ความหมายนี้ก็ดับลงไป และเห็นโทษแห่งความหมายนี้อย่างชัดเจนว่านี้คือตัวโทษ อสุภะไม่ใช่ตัวโทษ สุภะไม่ใช่ตัวโทษ ความสำคัญว่าเป็นสุภะอสุภะต่างหากเป็นตัวโทษ เป็นตัวหลอกลวงเป็นตัวให้ยึดถือ นั่นมันย่นเข้ามา นี่การพิจารณาย่นเข้ามาอย่างนี้และปล่อยวางโดยลำดับ
เมื่อจิตเป็นเช่นนั้นแล้ว เราจะกำหนดสุภะหรืออสุภะก็ปรากฏขึ้นอยู่ที่จิต โดยไม่ต้องไปแสดงภาพภายนอกเป็นเครื่องฝึกซ้อมอีกต่อไป เช่นเดียวกับเราเดินทางและผ่านสายทางไปโดยลำดับฉะนั้น นิมิตเห็นปรากฏอยู่ภายในจิต ในขณะที่ปรากฏอยู่ภายในจิตนั้นก็ทราบแล้วว่า สัญญาตัวนี้หมายขึ้นมาได้แค่นี้ ไม่สามารถออกไปหมายข้างนอกได้ แม้จะปรากฏขึ้นมาภายในจิตก็ทราบได้ชัดว่า สภาพที่ปรากฏเป็นสุภะอสุภะนี้ก็เกิดขึ้นจากตัวสัญญาอีกเช่นเดียวกัน รู้ทั้งภาพที่ปรากฏขึ้นอยู่ภายในใจ รู้ทั้งสัญญาที่หมายตัวขึ้นมาเป็นภาพภายในใจอีกด้วย สุดท้ายภาพภายในใจนี้ก็หายไป สัญญาคือความสำคัญความหมายขึ้นมานั้นก็ดับไป รู้ได้ชัดว่าเมื่อสัญญาตัวเคยหลอกลวงว่าเป็นสุภะอสุภะ และเป็นอะไรต่ออะไรไม่มีประมาณ หลอกให้หลงทั้งสองเงื่อนนี้ ดับไปแล้ว สัญญาก็ดับไปด้วย ไม่มีอะไรจะมาหลอกใจอีก นี่การพิจารณาอสุภะ พิจารณาอย่างนี้ตามหลักปฏิบัติ แต่เราจะไปหาในคัมภีร์หาที่ไหนก็ไม่เจอ นอกจากหาความจริงในหลักธรรมชาติที่มีอยู่กับกายกับใจ อันเป็นที่สถิตแห่งสัจธรรมและสติปัฏฐานสี่เป็นต้น และสรุปลงในคัมภีร์ที่ใจนี้ จะเจอดังที่อธิบายมานี้
นี่เป็นรูป รูปกายก็ทราบได้ชัดว่า กายของเราทุกส่วนนี้ก็เป็นรูป มีอะไรบ้างในรูปนี้ อวัยวะทุกส่วนเป็นรูปทั้งนั้น ไม่ว่าผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ปอด พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ล้วนแล้วแต่เป็นรูป เป็นสิ่งหนึ่งต่างหากจากใจ จะพิจารณาเป็นอสุภะ มันก็ตัวอสุภะอยู่แล้วตั้งแต่เรายังไม่ได้พิจารณา และคำที่ว่าสิ่งนี้เป็นสุภะสิ่งนั้นเป็นอสุภะ ใครเป็นผู้ไปให้ความหมาย สิ่งเหล่านี้เขาหมายตัวของเขาเองเมื่อไร เขาบอกว่าเขาเป็นสุภะ เขาบอกว่าเขาเป็นอสุภะเมื่อไร เขาไม่ได้หมายไม่ได้บอกว่าอย่างไรทั้งสิ้น อันใดจริงอยู่อย่างไรมันก็จริงอยู่ตามสภาพของเขาอย่างนั้นมาดั้งเดิม และเขาเองก็ไม่ทราบความหมายของเขา ผู้ไปทราบความหมายในเขาก็คือสัญญา ผู้หลงความหมายในเขาก็คือสัญญาเอง ซึ่งออกจากใจตัวหลง ๆ เมื่อมารู้เท่าสัญญาอันนี้แล้ว สิ่งเหล่านี้ก็หายไปอีก ต่างอันก็ต่างจริง นี่คือความรู้เท่าหรือการรู้เท่าเป็นอย่างนี้
เวทนาคือความสุข ความทุกข์ เฉย ๆ ที่เกิดขึ้นจากร่างกาย กายก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ตั้งแต่ทุกข์ยังไม่เกิด ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ ทุกข์ดับไป กายก็เป็นกาย ทุกข์ก็เป็นทุกข์ ต่างอันต่างจริง พิจารณาแยกแยะให้เห็นตามความจริง สักแต่ว่าเวทนา สักแต่ว่ากาย ไม่นิยมว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา เป็นของเราเป็นของเขา หรือของใคร เวทนาก็ไม่ใช่เรา ไม่เป็นของเรา ไม่เป็นของเขา ไม่เป็นของใคร เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาชั่วขณะแล้วดับไปชั่วกาลเท่านั้นตามสภาพของเขา ความจริงเป็นอย่างนี้
สัญญาคือความจำได้ จำได้เท่าไรไม่ว่าจำได้ใกล้ได้ไกล จำได้ทั้งอดีตอนาคต ปัจจุบัน จำได้เท่าไรความดับก็ไปพร้อม ๆ กัน ดับไป ๆ เกิดแล้วดับ ๆ จะมาถือว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลที่ไหน นี่หมายถึงปัญญาขั้นละเอียดพิจารณาหยั่งทราบเข้าไปตามความจริง ประจักษ์ใจตัวเองโดยไม่ต้องไปถามใคร
สังขารคือความคิดความปรุง ปรุงดีปรุงชั่วปรุงกลาง ๆ ปรุงเรื่องอะไรก็มีแต่เรื่องเกิดเรื่องดับ ๆ หาสาระอะไรจากความปรุงนี้ไม่ได้ ถ้าสัญญาไม่รับช่วงไปให้เกิดเรื่องเกิดราว สัญญาก็ทราบชัดเจนแล้ว อะไรจะไปปรุงไปรับช่วงไปยึดไปถือให้เป็นเรื่องยืดยาวต่อไปเล่า ก็มีแต่ความเกิดความดับภายในจิตเท่านั้น นี่คือสังขารมันเป็นความจริงอันหนึ่ง อันนี้ท่านเรียกว่าสังขารขันธ์ ขันธ แปลว่ากอง แปลว่าหมวด รูปขันธ์ แปลว่ากองแห่งรูป สัญญาขันธ์ แปลว่ากองแห่งสัญญา หมวดแห่งสัญญา สังขารขันธ์ คือกองแห่งสังขาร หมวดแห่งสังขาร
วิญญาณขันธ์ คือหมวดหรือกองแห่งวิญญาณที่รับทราบในขณะสิ่งภายนอกเข้ามาสัมผัส เช่น ตาสัมผัสรูป เป็นต้น เกิดความรู้ขึ้น พอสิ่งนั้นผ่านไปความรับรู้นี้ก็ดับไป ไม่ว่าจะรับรู้สิ่งใดย่อมพร้อมที่จะดับด้วยกันทั้งนั้น จะหาสาระแก่นสารและสำคัญว่าเป็นเราเป็นของเราที่ไหนได้กับขันธ์ทั้งห้านี้
เรื่องของขันธ์ทั้งห้านี้เป็นอย่างนี้ มีอย่างนี้ปรากฏอย่างนี้ และเกิดขึ้นดับไป ๆ สืบต่อกันอยู่เรื่อย ๆ อย่างนี้ตั้งแต่วันเกิดมาจนกระทั่งบัดนี้ หาสาระอะไรจากเขาไม่ได้เลย นอกจากจิตใจไปสำคัญมั่นหมาย แล้วยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นตนเป็นของตน แล้วแบกให้หนักยิ่งกว่าภูเขาทั้งลูกขึ้นมาภายในใจเท่านั้น ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องตอบรับหรือเป็นเครื่องสนอง ความสนองก็คือสนองความทุกข์นั้นเอง เพราะความหลงของตนพาให้สนอง
เมื่อจิตได้พิจารณาเห็นสิ่งเหล่านี้อย่างชัดเจน ด้วยปัญญาอันแหลมคมแล้วนั้น รูปก็จริงตามรูปโดยหลักธรรมชาติประจักษ์ด้วยปัญญา เวทนา สุข ทุกข์ เฉย ๆ ในส่วนร่างกายก็รู้ชัดตามเป็นจริงของมัน เวทนาทางใจคือความสุข ความทุกข์ เฉย ๆ ที่เกิดขึ้น ภายในใจ นั่นเป็นสาเหตุให้จิตสนใจพินิจพิจารณา แม้จะยังไม่รู้เท่าทันสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็ยังต้องเป็นเครื่องเตือนจิตให้พิจารณาอยู่เสมอ เพราะขั้นนี้ยังไม่สามารถที่จะรู้เท่าทันเวทนาภายในจิตได้ คือ สุข ทุกข์ เฉย ๆ ภายในจิตโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับเวทนาทางกาย
วิญญาณก็สักแต่ว่าต่างอันต่างจริง นี่ชัดแล้วตามความเป็นจริง จิตหายสงสัยที่จะยึดจะถือสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นตนอีกต่อไป เพราะต่างอันต่างจริงแม้จะอยู่ด้วยกัน ก็เช่นเดียวกับผลไม้หรือไข่เราวางลงในภาชนะ ภาชนะก็ต้องเป็นภาชนะ ไข่ที่อยู่ในนั้นก็เป็นไข่ ไม่ใช่อันเดียวกัน จิตก็เป็นจิตซึ่งอยู่ในภาชนะ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันนี้ แต่ไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หากเป็นจิตล้วน ๆ อยู่ภายในนั้น นี่เวลาแยกชัดเจนแล้วระหว่างขันธ์กับจิตเป็นอย่างนั้น
ทีนี้เมื่อจิตได้เข้าใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างชัดเจนหาที่สงสัยไม่ได้แล้ว ก็จะมีแต่ความกระดิกพลิกแพลงความกระเพื่อมภายในจิตโดยเฉพาะ ๆ ความกระเพื่อมนั้นก็คือสังขารอันละเอียดที่กระเพื่อมอยู่ภายในจิต สุขอันละเอียดที่ปรากฏขึ้นภายในจิต ทุกข์อันละเอียดที่ปรากฏภายในจิต สัญญาอันละเอียดที่ปรากฏขึ้นภายในจิตมีอยู่เพียงเท่านั้น จิตจะพิจารณาแยกแยะกันอยู่ตลอดเวลาด้วยสติปัญญาอัตโนมัติ คือจิตขั้นนี้เป็นจิตที่ละเอียดมาก ปล่อยวางสิ่งทั้งหลายหมดแล้ว ขึ้นชื่อว่าขันธ์ห้าไม่มีเหลือเลย แต่ยังไม่ปล่อยวางตัวเองคือความรู้ แต่ความรู้นั้นยังเคลือบแฝงด้วยอวิชชา
นั่นแหละท่านว่าอวิชชารวมตัว รวมอยู่ที่จิต หาทางออกไม่ได้ ทางเดินของอวิชชาก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพื่อไปสู่รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส เมื่อสติปัญญาสามารถตัดขาดสิ่งเหล่านี้เข้าไปได้โดยลำดับ ๆ แล้ว อวิชชาไม่มีทางเดิน ไม่มีบริษัทบริวาร จึงยุบ ๆ ยิบ ๆ หรือกระดุบกระดิบอยู่ภายในตัวเอง โดยอาศัยจิตเป็นที่ยึดที่เกาะโดยเฉพาะ เพราะหาทางออกไม่ได้ แสดงออกเป็นสุขเวทนาอย่างละเอียดบ้าง ทุกขเวทนาอย่างละเอียดบ้าง แสดงเป็นความผ่องใสซึ่งแปลกประหลาดอัศจรรย์อย่างยิ่งในเมื่อปัญญายังไม่รอบและทำลายยังไม่ได้บ้าง จิตก็พิจารณาอยู่ที่ตรงนั้น
แม้จะเป็นความผ่องใสและสง่าผ่าเผยเพียงไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าสมมุติจะละเอียดขนาดไหนก็จะต้องแสดงอาการอันใดอันหนึ่งขึ้นมาให้เป็นที่สะดุดจิต พอจะให้คิดอ่าน หาทางแก้ไขจนได้ เพราะฉะนั้น สุขก็ดีทุกข์ก็ดีอันเป็นของละเอียดเกิดขึ้นภายในจิตโดยเฉพาะ ตลอดความอัศจรรย์ ความสว่างไสวซึ่งมีอวิชชาเป็นตัวการ แต่เพราะความไม่เคยรู้เคยเห็น เมื่อพิจารณาเข้าไปถึงจุดนั้นจึงหลงยึด และจึงถูกอวิชชากล่อมเอาอย่างหลับสนิท โดยหลงยึดถือความผ่องใสเป็นต้นนั้นว่าเป็นเรา ความสุขนั้นก็เป็นเรา ความอัศจรรย์นั้นก็เป็นเรา ความสง่าผ่าเผยที่เกิดขึ้นจากอวิชชาซึ่งฝังอยู่ภายในจิตนั้นก็เป็นเรา เลยถือจิตทั้งอวิชชาเป็นเราโดยไม่รู้สึกตัวเสียทั้งดวง
แต่ก็ไม่นาน เพราะอำนาจของมหาสติมหาปัญญาอันเป็นธรรมไม่นอนใจอยู่แล้ว คอยสอดคอยส่องคอยพินิจพิจารณาแยกแยะไปมาอยู่อย่างนั้น ตามนิสัยของสติปัญญาขั้นนี้ กาลหนึ่งเวลาหนึ่งต้องทราบได้แน่นอน โดยทราบถึงเรื่องสุขที่แสดงขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ อันเป็นเรื่องผิดปกติ ทุกข์แสดงขึ้นนิด ๆ หน่อย ๆ อย่างละเอียด ตามขั้นของจิตก็ตาม ก็พอเป็นเครื่องสะดุดจิตให้ทราบได้ว่า เอ๊ะ ทำไมจิตจึงมีอาการเป็นอย่างนี้ ไม่คงเส้นคงวา ความสง่าผ่าเผยที่แสดงอยู่ภายในจิต ความอัศจรรย์ที่แสดงอยู่ภายในจิต ก็แสดงความวิปริตผิดจากปกติขึ้นมาเล็ก ๆ น้อย ๆ พอให้สติปัญญาขั้นนี้จับได้อยู่นั่นเอง
เมื่อจับได้ก็ไม่ไว้ใจและกลายเป็นจุดที่ควรพิจารณาขึ้นมาในขณะนั้น จึงตั้งจิตคือความรู้ประเภทนี้เป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณา เมื่อสติปัญญาขั้นนี้ได้จ่อลงไปถึงจุดนี้ว่านี้คืออะไร สิ่งทั้งหลายได้พิจารณามาแล้วทุกสิ่งทุกอย่างจนสามารถถอดถอนมันได้เป็นขั้น ๆ แต่ธรรมชาติที่รู้ ๆ ที่สว่างไสวที่อัศจรรย์นี้คืออะไร อันนี้มันคืออะไรกันแน่ สติปัญญาจ่อลงไปพิจารณาลงไป จุดนี้จึงเป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณาอย่างเต็มที่ และจุดนี้จึงกลายเป็นสนามรบของสติปัญญาอัตโนมัติขึ้นมาในขณะนั้น ไม่นานนักก็สามารถทำลายจิตอวิชชาดวงประเสริฐ ดวงอัศจรรย์สง่าผ่าเผยตามหลักอวิชชาให้แตกกระจายออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่มีสิ่งใดเหลือค้างอยู่ภายในใจแม้ปรมาณูอีกต่อไป
เมื่อธรรมชาติที่เคยเสกสรรโดยไม่รู้ตัวว่าเป็นของประเสริฐอัศจรรย์เป็นต้น ได้สลายตัวลงไปแล้ว สิ่งที่ไม่ต้องเสกสรรปั้นยอว่าเป็นของประเสริฐ หรือไม่ประเสริฐ ก็ปรากฏขึ้นอย่างเต็มที่ ธรรมชาตินั้นคือความบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์นั้นเมื่อเทียบกับ จิตอวิชชาที่ว่าเป็นของประเสริฐเลิศเลอแล้ว จิตอวิชชานั้นจึงเป็นเหมือนกองขี้ควายกองหนึ่งดี ๆ นี่เอง ธรรมชาติที่อยู่ใต้อวิชชาซึ่งหุ้มห่ออยู่นั้น เมื่อเปิดเผยตัวขึ้นมาแล้ว จึงเป็นเหมือนทองคำธรรมชาติ ทองคำธรรมชาติกับกองขี้ควายเหลว ๆ นั้น อันไหนมีคุณค่ากว่ากันเล่า แม้แต่เด็กอมมือก็ตอบได้ อย่าว่าแต่จะมามัวเทียบเคียงให้เสียเวลาและขายความโง่อยู่เลย
นี่ละการพิจารณาจิต เมื่อถึงขั้นนี้แล้วเป็นขั้นที่ตัดขาดจากภพจากชาติซึ่งมีอยู่กับจิต ตัดขาดจากอวิชชาตัณหาทั้งมวล อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ตัดขาดไปเป็นอวิชฺชายเตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ.  เป็นต้น จนกระทั่ง เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺสนิโรโธ โหติเมื่ออวิชชาดับแล้ว สังขารสมุทัยก็ดับและดับตาม ๆ กันไปดังท่านแสดงไว้นั่นแล สังขารที่ปรุงประจำขันธ์ก็กลายเป็นสังขารล้วน ๆ ไปไม่เป็นสมุทัย วิญญาณที่ปรากฏขึ้นภายในจิตก็เป็นวิญญาณล้วน ๆ ไม่เป็นวิญญาณสมุทัย วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํนามรูปปจฺจยา สฬายตนํสฬายตนปจฺจยา ผสฺโส อะไรที่เป็นรูปเป็นนาม เป็นสฬายตนะสัมผัสต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นหลักธรรมชาติของมันเอง ไม่ทำความกำเริบให้แก่จิตใจดวงเสร็จสิ้นไปแล้วนั้น จนกระทั่งถึง เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺสนิโรโธ โหติคำว่า เอวเมตสฺส เกวลสฺส สิ่งทั้งมวลที่กล่าวมานั้นได้ดับลงไปแล้วโดยสิ้นเชิง เรียกว่า นิโรธเต็มภูมิ
การดับกิเลสตัณหาอวิชชา ดับโลกดับสงสารจะดับที่ไหน ถ้าไม่ดับที่ตัวจิตซึ่งเป็นตัวโลกตัวสงสาร ตัวอวิชชาตัวเกิดแก่เจ็บตาย เชื้อของความให้เกิดแก่เจ็บตายก็ได้แก่ ราคะตัณหามีอวิชชาเป็นตัวสำคัญ มีอยู่ที่จิตดวงนี้เท่านั้น เมื่อดับอันนี้ให้ขาดกระเด็นออกไปจากจิตใจหมดแล้วก็ นิโรโธ โหติ เท่านั้น นี่แหละงานแห่งการประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้คงเส้นคงวา ไม่มีที่ใดยิ่งหย่อนในบรรดาหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้แล้ว ว่าจะไม่ทันกลมายาของกิเลสประเภทต่าง ๆ เป็นไม่มี จึงเรียกว่าเป็น มัชฌิมาปฏิปทา เป็นธรรมที่เหมาะสมกับการแก้กิเลสทุกประเภทตลอดไป จนกิเลสไม่มีเหลือหลอด้วยอำนาจแห่งมัชฌิมาปฏิปทานี้ จงพากันเข้าใจอย่างนี้
การปฏิบัติตนให้ถือธรรมข้อนี้ เพราะความพ้นทุกข์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเหนือโลกทั้งสาม เราเห็นโลกทั้งสามนี้ว่าอะไรเป็นสิ่งวิเศษวิโสกว่าความหลุดพ้นแห่งใจจากทุกข์ทั้งมวลเล่า เมื่อทราบชัดด้วยเหตุผลแล้ว ความเพียรก็จะได้คืบหน้ากล้าตายต่อสงคราม ตายก็ตายไปเถอะ ตายด้วยการรบการพุ่งชิงชัยกับกิเลสอาสวะ ซึ่งเคยครอบงำหัวใจเรามานาน ไม่มีธรรมบทใด ไม่มีเครื่องมือใดที่จะสามารถฟาดฟันหั่นแหลกกิเลสนี้ให้จมลงไปได้ เหมือนมัชฌิมาปฏิปทาที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้แล้วนี้เลย
ฉะนั้นคำว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ จึงเป็นที่อบอุ่นใจ เป็นที่แน่ใจเป็นที่สนิทใจว่าได้ทรงบำเพ็ญทั้งเหตุทั้งผล  ทุกสิ่งทุกอย่างมาโดยสมบูรณ์   จึงได้นำธรรมมาสอนโลก สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ก็ตรัสไว้ชอบแล้วด้วยความรู้ยิ่งเห็นจริงทุกสิ่งทุกอย่าง คือตรัสไว้ชอบทุกแง่ทุกมุมแล้ว สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ พระสงฆ์สาวกท่านดำเนินตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าโดยไม่ย่อหย่อนอ่อนกำลัง จนสามารถคว่ำกิเลสออกจากใจ กลายเป็นใจที่เลิศประเสริฐขึ้นมาเป็นสรณะของพวกเรา ก็ไม่พ้นจากการปฏิบัติตามหลักปฏิปทานี้เลย ด้วยเหตุนี้ขอให้เราทั้งหลายจงฟังให้ถึงใจ อย่าสนใจใฝ่หาเรื่องหลอกเรื่องลวง เรื่องปลอมแปลงทั้งหลายซึ่งมีเต็มโลกเต็มสงสาร ให้สนใจใฝ่ธรรมของจริงปฏิบัติของจริง เราจะเห็นของจริงขึ้นกับใจไปเรื่อย ๆ ในท่ามกลางแห่งของปลอมซึ่งมีอยู่ภายในใจและมีอยู่เต็มโลก อย่าพากันสงสัยจะเป็นความอาลัยเสียดายกิเลสไม่มีที่สิ้นสุด
การปฏิบัติธรรมให้มุ่งทางด้านนามธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสำคัญยิ่งกว่าด้านวัตถุ ด้านวัตถุนั้นพอเป็นพอไปเพียงได้อาศัยก็พอแล้ว อยู่สถานที่ใด คนเราเกิดมาจากมนุษย์ มาเป็นพระก็มาจากคน คนเขามีบ้านมีเรือน พระก็จำต้องมีที่พักที่อาศัยพอบรรเทาเป็นธรรมดา ควรทำพอได้อาศัยเท่านั้น อย่าทำให้หรูหรา อย่าทำแข่งโลกแข่งสงสารมันเป็นการสั่งสมกิเลสขึ้นมา ปรากฏชื่อลือนามไปในทางโลก ไปในทางกิเลสหัวเราะเยาะ ให้ปรากฏชื่อลือนามด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ศรัทธา ความเพียร ให้ปรากฏชื่อลือนามในการบำเพ็ญแก้หรือถอดถอนตน ให้พ้นจากกิเลสกองทุกข์ในวัฏสงสาร นี้ชื่อว่าเป็นผู้เพิ่มอำนาจวาสนาของตนโดยตรงอย่างแท้จริง อย่าได้ละความพากเพียรของตน จงเอาให้ตลอดรอดฝั่งแห่งวัฏวนวัฏวุ่นให้ได้ในชีวิตอัตภาพนี้ ซึ่งเป็นที่แน่ใจกว่ากาลสถานที่และอัตภาพอื่นใด
และอย่าลืมเวลาไปที่ไหน ๆ อย่าเป็นบ้าการก่อสร้าง ไปที่ไหนก่อสร้างยุ่งไปหมด และเป็นบ้าก่อสร้างทั่วไปหมดน่าอิดหนาระอาใจ พอมองเห็นหน้ากัน เป็นยังไงศาลา เป็นยังไงโรงเรียนจวนเสร็จแล้วยัง สิ้นเงินเท่าไร เวลาจะมีงานทีไรและมีงานอะไร ๆ กว้านบ้านกว้านเมืองกวนบ้านกวนเมืองเขา ให้ต้องมาสิ้นเปลืองวุ่นวายด้วยอยู่ไม่หยุดหย่อน ให้เขาพอมีเงินและผ่อนเงินทองเข้าถุงบ้าง เขาเสาะแสวงหามาแทบล้มแทบตาย เพียงได้ห้าได้สิบมาแทนที่จะเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงหลานเลี้ยงเหลนและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ บ้าง และทำบุญให้ทานตามอัธยาศัยบ้าง กลับกลายเก็บกวาดเอามาช่วยพระเพราะการเรี่ยไรรบกวน จนหมดไม้หมดมือและยุ่งไปตาม ๆ กัน นี้มันเป็นศาสนากวนบ้านกวนเมือง ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่พาทำและไม่สั่งสอนให้ทำอย่างนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายเข้าใจเอาไว้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้พาทำอย่างนี้ นี่มันศาสนวัตถุ ศาสนเงิน มิใช่ศาสนธรรมตามเยี่ยงอย่างของศาสดา
เราดูซิ กุฏิของพระหลังเท่าภูเขาอินทนนท์นี่ หลังหนึ่งมีกี่ชั้น สูงจรดฟ้าโน่น หรูหราขนาดไหน มันน่าสลดสังเวชขนาดไหน แม้แต่กุฏิผมนี้ผมก็ยังอดละอายไม่ได้เหมือนกันทั้ง ๆ ที่ผมก็จำใจอยู่ ผมต้องทนละอายหน้าด้านเอาบ้าง เพราะเขาส่งเงินมาให้ทำโดยไม่บอกไว้ล่วงหน้าก่อน ละอายตัวเองที่ขอทานเขามากินประจำชีวิต แต่กุฏิหอปราสาทในแดนสวรรค์สู้ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เขาผู้ให้ทานอยู่กระต๊อบหลังเท่ากำปั้นนี่ ที่ถูกที่เหมาะสมกับพระผู้เห็นภัยเป็นนิสัย ที่พักที่อยู่ อยู่ที่ไหนอยู่เถอะ พอหลวมตัวนอนได้นั่งได้แล้วอยู่ไปเถอะ แต่เรื่องการทำความพากเพียรนั้นขอให้มีความหนักแน่นมั่นคง มีความขยันหมั่นเพียรบึกบึน
อย่าให้เสียเวลาเพราะงานใด ๆ มาเป็นอุปสรรคได้ เพราะงานนอกนั้นส่วนมาก มันเป็นงานทำลายงานจิตตภาวนาเพื่อฆ่ากิเลสทำลายกิเลส ซึ่งเป็นงานใหญ่โตประจำตัว ประจำใจของพระผู้มุ่งต่อแดนหลุดพ้น ไม่เยื่อใยในการกลับมาเกิดมาตายเพื่อแบกหามกองทุกข์น้อยใหญ่ในภพชาตินั้น ๆ อีกต่อไป ภัยใดไม่เท่าภัยที่กิเลสครอบหัวใจ บังคับถูไถให้เป็นไปได้ทุกอย่างที่ธรรมไม่พึงประสงค์ ทุกข์ใดไม่เท่าทุกข์ของคนมีกิเลสกดคอ ไม่สู้กับกิเลสคราวบวชนี้จะสู้เวลาตายแล้วได้หรือ ความเป็นอยู่ของชีวิต ธาตุขันธ์นั้นพออดพอทนได้ แต่ขออย่าทนให้กิเลสกดคอต่อไป เป็นความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับพระลูกศิษย์ตถาคต
อะไร ๆ จะพอเป็นพอไปหรือขาดแคลนขนาดไหน ขอให้เล็งพระตถาคตเป็นสรณะอยู่เสมอ อย่าให้สิ่งไม่จำเป็นสำหรับพระหรูหรามากเกินเหตุเกินผล เช่น สร้างอะไรก็สร้างเสียจนแข่งโลกแข่งสงสารเขา จนกลายเป็นบ้าชื่อเสียงเกียรติยศแบบลม ๆ แล้ง ๆ แต่ธรรมหากรอกใจพอฟื้นจากสลบไสลบ้างไม่สนใจสร้างกัน โลกเขาอยู่บ้านหลังเล็ก ๆ เพียงไอจามก็จะล้ม อยู่กระท่อมห้อมหอ ได้อะไรมาก็อุตส่าห์แย่งปากแย่งท้องแย่งลูกหลานมาทำบุญให้ทานกับพระ แต่พระอยู่ตึกอยู่ร้านกี่ชั้น หรูหราโอ่อ่ายิ่งกว่าพระมาจากแดนสวรรค์ เหมือนไม่ใช่คนที่เคยอยู่บ้านกับพ่อ-แม่หลังเล็ก ๆ มาก่อนไปบวชเป็นพระเลย ทั้งไม่ทราบว่ามีอะไรเป็นเครื่องประดับประดาตกแต่งแข่งกับโลกเขา มันน่าละอายโลกเขายิ่งกว่าลูกสะใภ้ละอายย่าขณะจาม เผลอผายลมทางทวารล่างหลุดออกอย่างแรงแทบสลบไป ทั้ง ๆ ที่ศีรษะโล้น ๆ ไม่ได้คิดถึงศีรษะตนบ้างเลย มิใช่มันด้านเกินไปแล้วหรือพวกเราน่ะ นั่นไม่ใช่หลักของศาสนาที่สอนให้นักบวชแก้กิเลสเพราะความเห็นภัยในสิ่งประโลมโลก รกรุงรังแก่ศาสนาและหัวใจพระเรา จึงขออย่าพากันคิดกันทำ จงทำความรู้สึกตัวไว้เสมอ นี้ไม่ใช่หลักธรรมเพื่อแก้กิเลสให้เห็นประจักษ์ใจ แต่เป็นเครื่องส่งเสริมให้พระลืมตัวเมามัวมั่วสุมกับเรื่องของกิเลส ซึ่งไม่ใช่เรื่องของพระ
หลักธรรมของพระแท้อันดับหนึ่ง รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา.ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาแล้วให้เธอทั้งหลาย เที่ยวอยู่ตามรุกขมูล ร่มไม้ ชายป่าชายเขา ตามถ้ำ เงื้อมผา ที่แจ้ง ลอมฟาง อันเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การฆ่ากิเลสทำลายกิเลสให้สิ้นซากไปจากใจเถิด จงอุตส่าห์พยายามทำอย่างนี้จนตลอดชีวิตนะ นอกนั้นเป็นสิ่งเหลือเฟือ ดังที่ว่าอติเรกลาโภ เป็นต้น เป็นสิ่งนอกจากความจำเป็นอันดับแรก
งานที่ทรงให้ทำก็ เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา นอกจากนั้นก็ว่าไปถึงอาการ ๓๒ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ปอด พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ซึ่งมีอยู่กับตัวเรา ท่านทั้งหลายจงพยายามคลี่คลายสิ่งเหล่านี้ให้เห็นแจ้งชัดเจนตามหลักความจริง ที่มันมีอยู่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ท่านทั้งหลายเมื่อได้ทำงานนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยสติปัญญาอันเต็มภูมิของวีรบุรุษแล้ว ความหลุดพ้นจากทุกข์อันเป็นสมบัติมหาศาลนั้น  จะเป็นของท่านทั้งหลายเอง นั่นฟังซิ มันห่างไกลกันไหมกับพวกเราที่ชอบสะดวกสบายกับของเศษ ๆ เดน ๆ ที่ท่านสอนให้ละให้ทิ้งด้วยธรรมทุกบททุกบาททุกปิฎกน่ะ
พวกเรานี่มันเป็นคู่แข่งศาสนธรรมเสียเอง อะไรที่ธรรมตำหนิมันกลับหรูหราไปหมด ประชาชนญาติโยมสู้ไม่ได้ ของดิบของดีเขาเอามาทำบุญให้ทาน เขากินอะไรใช้อะไรก็พอทำเนา ขอให้ได้ของดีมาทำบุญให้ทานพระก็เป็นที่พอใจตามนิสัยของนักแสวงบุญ แต่พระเรากลับเป็นนักหรูหรา กุฏิก็อยู่ดี ๆ เครื่องใช้ไม้สอยก็มีแต่ของดิบของดี นอกจากนั้นยังมีวิทยุ ยังมีเทวทัตโทรทัศน์ และยังมีรถยนต์กลไกแถมเข้าไปอีก ดูตามหลักธรรมวินัยของพระเราแล้วน่าสลดสังเวชเหลือประมาณ ทำไมพากันคิดฆ่าพระพุทธเจ้าแบบสด ๆ ร้อน ๆ ได้ลงคอ ด้วยความโอ่อ่าท่าใหญ่ของพระ อันเป็นความดื้อด้านไม่ยอมรู้สึกตัวเลย มันน่าละอายที่สุด
ทุกท่านขอให้คำนึงเรื่องเหล่านี้ให้มาก ถ้าเราบวชเพื่ออุทิศต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จริง ๆ มิใช่บวชมาเพื่อเป็นคู่กรรมคู่เวรต่อศาสนธรรมของพระพุทธเจ้า ขอให้คำนึงถึงอรรถถึงธรรม ถึงการดำเนินของพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าเรื่องใด ๆ สมัยใดก็ตามไม่มีเยี่ยมยิ่งกว่าพุทธสมัย ธรรมสมัย สังฆสมัย ที่พาดำเนินมา อันนี้เป็นหลักใหญ่โตมาก ให้ท่านทั้งหลายจงประพฤติปฏิบัติตามหลักพุทธสมัยเถิด ผลอันชุ่มเย็นพึงใจจะเป็นที่ยอมรับกับหลักแห่งสวากขาตธรรม นิยยานิกธรรม ไม่มีทางสงสัย
นี่ก็ได้ปฏิบัติมาพอสมควร เป็นผู้น้อยผมก็เคยได้เป็น ไปศึกษาอบรมกับครูบาอาจารย์ เฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์มั่น ฟังจริง ๆ ฟังท่านพูด ท่านจะพูดทีเล่นทีจริง เป็นธรรมดาของลูกศิษย์กับอาจารย์ เราจะไม่มีฟังเล่น จะมีแต่ฟังจริงอย่างฝังใจตลอดมา มีความเคารพรักความเลื่อมใส ความกลัวท่านมากที่สุด ยึดเอาทุกแง่ทุกมุม  ที่จะพึงประพฤติปฏิบัติได้ ได้มาสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหานี้ก็เพราะอำนาจครูบาอาจารย์ที่ท่านให้การสั่งสอนมา
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติในวัดของเรานี้ แม้จะผิดแผกแตกต่างกับวัดทั้งหลายบ้าง ผมก็แน่ใจตามหลักเหตุผลและหลักธรรมวินัย จึงไม่สะทกสะท้าน ผมไม่ได้คิดว่าเป็นการทำผิด เพราะมีแบบมีฉบับที่ได้รับมาจากศาสนธรรม และจากครูบาอาจารย์ทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นแบบฉบับมาดั้งเดิมอยู่แล้ว จึงได้พาหมู่เพื่อนดำเนินเรื่อยมาอย่างนี้ ผิดถูกประการใดจะต้องพูดกันตามหลักเหตุผล ความเกรงอกเกรงใจกันนั้นเป็นเรื่องของโลกเป็นเรื่องของบุคคล ไม่ใช่เรื่องของธรรมของวินัยอันเป็นหลักดำเนินตายตัวด้วยกัน การพูดกันโดยอรรถโดยธรรมเพื่อให้เป็นที่เข้าใจและปฏิบัติถูกนั้นเป็นธรรมแท้ เพราะฉะนั้น คำว่า ลูบหน้าปะจมูกจึงไม่มีในธรรมทั้งหลายของผู้มุ่งต่อธรรมด้วยกัน
การแสดงธรรมก็เห็นสมควรขอยุติเพียงแค่นี้


เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑


ที่มา
http://www.luangta.com


การฝึกสมถกรรมฐานแบบพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

รูปพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ

การฝึกสมาธิเบื้องต้น
สมาธิ คือความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์ สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนด เอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวัน อย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา อันเป็นเรื่อง ไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติ ที่ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้
1. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวล ไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีลห้าหรือศีลแปดเพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง
2. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดี ที่ได้กระทำแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่ตั้งใจจะทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมด ประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดี ล้วนๆ
3. นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่ในจังหวะพอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลัง โค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตา หรือว่าขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจ ว่ากำลังจะเข้าไป สู่ภาวะแห่งความสงบสบายอย่างยิ่ง
4. นึกกำหนดนิมิต เป็นดวงแก้วกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากราคีหรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้ เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมา นิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ฐาน ที่ 7 นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า สัมมา อะระหัง หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้ว กลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตาม แนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วย การนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ พร้อมๆ กับคำภาวนา
อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงใส และกลมสนิทปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วาง อารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็น ส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบายแล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือ เมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้ วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่ง ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้ว สนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วนแล้ว จากนั้นทุกอย่างจะค่อยๆปรากฏให้เห็นได้ด้วย ตนเอง เป็นภาวะของดวงกลม ที่ทั้งใสทั้งสว่างผุดซ้อน ขึ้นมาจากกึ่งกลางดวงนิมิต ตรงที่เราเอาใจใส่อย่าง สม่ำเสมอ
ดวงนี้เรียกว่า ดวงธรรม หรือ ดวงปฐมมรรค อันเป็นประตูเบื้องต้น ที่จะเปิด ไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิต หรือ ดวงปฐมมรรค สามารถทำได้ในทุกแห่งทุกที่ทุกอิริยาบถ เพราะ ดวงธรรมนี้คือที่พึ่งที่ระลึกถึงอันประเสริฐสุดของมนุษย์
ข้อแนะนำ
คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่าง สบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น อัน จะเป็นเครื่องสกัดกั้นมิให้เกิดความอยากมากจน เกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็น กลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้ว ให้หมั่น ตรึกระลึก
นึก ถึงอยู่เสมอ จนกระทั่งดวงปฐมมรรค กลายเป็นอันหนึ่ง อันเดียว กับลมหายใจ หรือนึกเมื่อใดเป็นเห็นได้ทุกที อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้น ทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยัง จะทำ ให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้า
ไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย 


ข้อควรระวัง
1. อย่าใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่นไม่บีบ กล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรง ส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจาก ศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
2. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติ มิให้ เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิต เมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การ บังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
3. อย่ากังวล ถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการ ฝึกสมาธิเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย อาศัยการน้อมนึก อาโลก-กสิณ คือ กสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อ เกิดนิมิตเป็นดวงสว่าง แล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก แต่ประการใด
4. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์ กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้าย ฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจ บริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้ว ใสควบ คู่กันตลอดไป
5. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ใน ที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก
สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา เพียงเพื่ออาภรณ์ประดับกาย หรือเพื่อเป็นพิธีการชนิดหนึ่ง หรือผู้ที่ต้องการ ฝึกสมาธิเพียงเพื่อให้เกิด ความสบายใจ จะได้เป็นการพักผ่อนหลังจากการปฏิบัติหน้าที่ภารกิจประจำวัน โดยไม่ ปรารถนาจะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ ยังคิดอยู่ ว่าการอยู่กับบุตรภรรยา การมีหน้ามีตาทางโลก การท่องเที่ยว อยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นสุขกว่าการเข้านิพพาน เสมือนทหาร เกณฑ์ที่ไม่คิดจะเอาดีในราชการอีกต่อไปแล้ว


การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็พอ เป็นปัจจัย ให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติ อยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่น ประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต และอย่ากระทำ ความชั่วอีก เป็นอันมั่นใจได้ว่าถึงอย่างไรชาตินี้ ก็พอมีที่พึ่งที่เกาะที่ดีพอสมควร คือเป็นหลัก ประกันได้ ว่าจะไม่ต้องตกนรกแล้วทั้งชาตินี้ และชาติ ต่อๆ ไป




--------------------------------------------------------


Basic meditation.
Meditation is the quiet comfort and feel very happy man. Can be created manually. Buddhism is a set Take this obligation To live happily every day filled with negligence not sensible and intelligence. As subject. Not impossible. Anyone can follow easily. The practices milord Phramongkolthepmuni (live and computer games Ø Road) Luang Phor Wat Paknam. Phasi to teach compassion as follows.
1. Prostration worship the Triple Gems. Prepare themselves for smooth preparation. As a preliminary Then Somrdan five or eight precepts precepts to emphasize their moral security.
2. Kneel or squat comfortable. Good recall. To be done today in the past and intend to continue in the future. And as if the whole body. Constitute the elements of pure goodness.
3. Squat Tap right foot left foot. Tap right hand left hand Right thumb, left index finger stretch. Sitting in the timing fit. No excessive physical force. Less than the contract But not to close my eyes after the bend is similar to a comfortable enough rest. Muscles do not squeeze. Or frown And committed accidentally. Put emotional comfort. Create a feeling both mentally and physically ready. That is about to enter. Conditions of peace and comfort to the very
4. Imagine the vision. Enter a loved one round. Black-size crystal clear cornea without flaw or defect of any clear Yenta Yenjai the sparkling white of the stars. Loved one is called the round clear vision Brikornrnam think casual still think like a loved one is close to the central body at the base of 7 thought to pray to gently Are conscious that support Puttha Samma A gradual decline during Hang or loved one think. Gently insert the round. Moving to a central body along the base, starting from a base with a bow so to imagine the casual calm along with prayer.
Furthermore, the Duang clear vision. Visible and close at the middle round body, place the mood is comfortable with the vision and vision is similar to that Duang. Part of the emotion. Duang vision vanish if the missing I do not think pity Emotional comfort, place and thought that a new vision instead of the old Duang vision is to appear elsewhere. The central body is not a gradual decline in vision from the ground. There is no compulsion. And the vision to stop at the central body, place close to the center of consciousness Duang vision. Feel like stars with a little more Duang Duang Duang one nest in the middle and old interested Vision Duang Duang attention, but small. The center indefinitely. Will be adjusted until the stop was then. Then everything will be gradually revealed themselves as conditions ด circle Both clear and bright pop-double. Up from the middle Duang vision. Where our attention on a regular basis.
This is called Duang Duang Duang primary Mak as fair or initiative to open the door to a path of มรรคผล nirvana Duang recall or think of vision in all primary Mak possible anytime, anywhere Duang fair manner because this is the recent recall of the first human Prasert.
Tip
Is to make regular do เรื่อย other do casual does not accelerate the optional possible how to satisfy just that which is a barrier you against hunger too through with the heart to lose the middle and at fruition and practices reflect the persistent mind.
Always thought the primary until Duang Mak. Into unity with one's breath or a thought when seeing this anywhere in the concentration of the existence of life on the line Path of success and happiness forever and be careful to do a delicate meditation progress.
So on, too.
CAUTION.
1. Do not use force is not any such use is not squeezing the muscles to the vision soon not tense arm muscles do not tense the abdominal contraction, etc. not because of the direct use of force. Matter what part of the body. Will move from the mind. Central body to that point.
2. Do not want to see the conscious mind to sustain neutral shall not absent from Brikornrnam Brikornrnam prayer and vision. When the vision to see that, do not worry if the time would see the creation of the Duang own vision that Likeness as the up and fall. The sun We can not be accelerated time.
3. Do not worry to the breath out of meditation, because meditation Dhammakaya science. Muslims live and think seeing - is กสิณ กสิณ U.S. initial brightness when the mottled light vision. Vipassana then later. There is no need to define breaths at all.
4. Then stop by meditation. Intended for the center. One central body. Whether it is in good standing posture like any good sleep good walk or sit at the base good, do not move to a different sense of mind to think about praying with intention Brikornrnam Brikornrnam clear vision is proclaimed, loved each other forever.
5. Vision that could be set to bow to. All central body. If the vision which has been missing for one does not have the heart to prayer to sustain the most normally when the mind calm. Vision would appear again.
For the Buddhist. Auto body solely for the costume. Or to a kind of ritual. Or those who want Meditation is to achieve peace of mind can relax after a day of mission duties without desire to make the most of the Division also think that suffering is the son of his wife. The reputation of the world. Here. In phase ¯ pity Than happy to nirvana as conscripts do not think that will take.
Good government anymore.
Introduction to meditation as all of these factors, this is enough to be born happy enough. Practice is always at practice and has not abandoned Duang Mak and primary treatment is to sustain persistent Duang Mak is the primary life and do evil shall be more sure that this nation to do. I have only refuge island is quite good as the main guarantee that it will not have to go to hell and the entire nation, this nation and beyond.

ที่มา
- คนไทยรักชาติ สีส้ม

Tuesday, August 13, 2013

ความเบื่อโลก

ที่มาโดย พระชุมพล พลปญฺโญ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๖


ผมเห็นว่าบทความนี้น่าสนใจเลยอยากให้ทุกท่านได้อ่านครับ เห็นอยู่บ่อยครั้งที่คนเสียใจ ผิดหวังกับเรื่องต่างๆมากๆก็คิดสั้นหรือเป็นทุกข์ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วมันเป็นเรื่องธรรมดาว่ามีสุขก็ต้องมีทุกข์คู่กันไป หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คนที่กำลังทุกข์ใจได้บ้างนะครับ







อาการเบื่อโลกที่เกิดขึ้น
เพราะเคยถูกสิ่งแวดล้อมหลายๆ อย่าง
หลอกให้หวังจากโลกมากเกินไป
สื่อต่างๆ ทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือ
ได้มากล่อมให้เราหลงเชื่อว่า...
โลกนี้ช่างสวยสดงดงามนัก
สื่อเหล่านี้ ได้สร้างจินตนาการให้เราสร้างโลกแห่งความฝันให้เรา
โลกแห่งความฝันของทุกคนมักจะสวยหรูเสมอ
แต่ต้องขอโทษด้วยที่จะต้องบอกว่า...
โลกแห่งความจริงมันผิดกันจากหน้ามือเป็นหลังมือ
ฉะนั้น ถ้าหากใครถูกหลอกให้ชื่นชมยินดีหลงระเริง
กับโลกแห่งความฝันมากเท่าไหร่
จะต้องเดือดร้อนมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อความเป็นจริงหรือสัจธรรมที่ไม่เคยปราณีต่อคนโง่เขลา
ได้ปรากฏตัวแสดงความเป็นจริงของมันออกมา
ความจริงโลกมันก็เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นนั่นแหละ



โลกนี้มันมีทั้งด้านเจริญ ด้านเสื่อม
ด้านขึ้น ด้านลง
ด้านบวก ด้านลบ
มันเป็นคู่ของมันอย่างนั้น
คู่ที่ประกอบมาจาก ๒ ข้างที่ต่างกัน



ถ้าเราไปยินดีในข้างเจริญ
เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนกับข้างเสื่อม
ถ้าเราไปยินดีในข้างขึ้น
เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนกับข้างลง
ถ้าเราไปยินดีในข้างบวก
เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนกับข้างลบ

บอกแล้วว่า ดีใจก็เพื่อเสียใจ
ลิงโลดก็เพื่อเศร้าสร้อย
ตื่นเต้นก็เพื่อเหงาหงอย
สมหวังก็เพื่อผิดหวัง
ยินดีก็เพื่อยินร้าย
เฟื่องฟูก็เพื่อตกดิ่ง
โด่งดังก็เพื่ออับแสง



บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีที่สุด ก็คือ...
บุคคลที่ไม่ยินดียินร้ายไปตามโลกนั่นเอง


ความจริงโลกมันก็เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น
ที่ต้องมีด้านบวกและด้านลบ แต่เราไปบ้ากับมันเอง
สิ่งที่ธรรมดามันก็เลยกลายเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดา
สิ่งที่ธรรมดามันก็เลยมาทำให้เราเป็นทุกข์
ที่เราเป็นทุกข์เพราะเราไม่เข้าใจสภาพความเป็นจริงของมัน
ถ้าหากเราเข้าใจสภาพความเป็นจริงของมัน
แล้วปล่อยวางเสีย มันก็หมดเรื่อง
ก็โลกมันก็เป็นของมันอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ไปทุกข์กับมันทำไม
มันขึ้นของมันอย่างนั้น
มันลงของมันอย่างนั้น
มันเจริญของมันอย่างนั้น
แล้วมันก็เสื่อมของมันอย่างนั้น
ที่เราเป็นทุกข์เพราะเราไปยึดมั่นถือมั่นมันเอง



ฉะนั้น การแก้ความทุกข์นั้นแก้ที่ไหนก็ไม่สำเร็จ
ต้องมาแก้ที่ใจเราเอง
ถอนความยึดมั่นอะไรในโลกเสีย
ถอนความหวังอะไรในโลกเสีย
อย่าหวังอะไรจากโลก
อย่าหวังอะไรแม้แต่หมูในอวย



ขอให้พยายามสร้างกุศลบารมี
สร้างความดี ทาน ศีล ภาวนา ไปเรื่อยๆ เถิด
แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะจัดตัวของมันไปในทางที่ดีเอง
จงให้อาหารแก่จิตให้มากๆ
อาหารกายเราก็ได้หามาให้ทุกวันอยู่แล้ว
แต่อาหารใจเรายังขาดอยู่
อาหารใจก็คือ ทาน ศีล ภาวนา นั่นเอง
เธอจะไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ถ้าขาดมัน



Thursday, August 1, 2013

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คนดีที่หายาก

วันนี้ขอนำเสนอบุคคลที่มีประวัติดีน่ายกย่องเชิดชู ควรค่าแก่การเป็นตัวอย่างในด้านประพฤติดีประพฤติชอบ ได้แก่ ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เพราะว่า

เป็นคนขยัน 
-เพียงอายุ 18 ปีก็สำเร็จการศึกษา
-เป็นคนไทยคนเดียวในมหาวิทยาลัยลอนดอน ที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกัน

รู้กตัญญู 
-หลังจากที่ได้เรียนจบมาเป็นครูได้เงินเดือนๆละ 40 บาท ได้แบ่งให้แม่ 30 บาท
-ทำงานเป็นข้าราชการไทยแม้จะมีหลายคนจะเสนองานที่มีเงินเดือนสูงกว่าให้ท่านก็ตามเพราะถือว่า ตนเองนอกจากจะเกิดเมืองไทย กินข้าวไทยแล้ว ยังได้รับทุนเล่าเรียนรัฐบาลไทย คือเงินของชาวนาชาวเมืองไทย ไปเมืองนอกแล้วผูกพันใจว่าจะรับราชการไทยด้วย

รักชาติรักแผ่นดิน 
-เห็นได้จากตอนที่นายป๋วยเข้าร่วมตั้งคณะเสรีไทยในอังกฤษ โดยไม่ศึกษาต่อปริญญาเอกทั้งๆที่สามารถศึกษาปริญญาเอกต่อได้ทันที

มีความตั้งใจทำงานเพื่อชาติเพื่อแผ่นดินอย่างเต็มที่
-การที่ท่านเข้าร่วมและทำงานกับกลุ่มเสรีไทย แม้จะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตาม
-ท่านมีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหามากในสมัยนั้น กลับมีเสถียรภาพมากขึ้น นักธุรกิจมั่นใจค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศ ทำให้ราคาสินค้าลดลง และเงินสำรองระหว่างประเทศก็ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเมื่อสมัยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

รักษาคำพูด 
-ไม่ยอมรับตำแหน่งการเมือง เพราะเมื่อตอนเข้าเป็นเสรีไทย ได้สาบานไว้ว่า จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ จนกว่าจะเกษียณอายุราชการ เพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้หวังแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นเสรีไทย

กินอยู่ง่าย
-แม้ว่า ดร.ป๋วย จะมีตำแหน่งที่สูง แต่ก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ชอบนุ่งกางเกงเวสต์ปอยต์มาทำงาน ไม่มีชุดดินเนอร์แจ็กเกตเป็นของตนเอง ชอบกินก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้มกุ๊ย และเต้าฮวย

ซื่อสัตย์สุจริต
-ในยุคที่  พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก็พยายาม เสนอให้บริษัทแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตนเองมีผลประโยชน์อยู่ด้วย เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตรไทยแทน บริษัท โทมัส เดอลารู, คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ดร.ป๋วยเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้ ดร.ป๋วย ตรวจพบว่า บริษัทดังกล่าวฝีมือไม่ดี ปลอมง่าย และมีชื่อเสียงในการวิ่งเต้น จึงไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอให้เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตร จึงทำรายงานเสนอ ให้ใช้ บริษัทโทมัส เดอลารูตามเดิม แต่ถ้าหากจะตัดสินใจให้บริษัทอเมริกันเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร ก็จะออกจากราชการ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของ ดร.ป๋วย, เหตุการณ์ครั้งนี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นอย่างมาก
-ดร.ป๋วย พ้นจากตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไปรับราชการเป็นผู้เชี่ยวชาญการคลัง กระทรวงการคลัง เนื่องจาก ดร.ป๋วย ปฏิเสธการที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต้องการซื้อ สหธนาคารกรุงเทพจำกัด แต่เนื่องจากธนาคารแห่งนั้น กระทำผิดระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย และกำลังถูกปรับเป็นเงินหลายล้านบาท จอมพลสฤษดิ์ ขอให้ ดร.ป๋วย ยกเลิกการปรับ แต่ ดร.ป๋วย ปฏิเสธ และยืนกรานให้คณะรัฐมนตรีปรับธนาคารแห่งนั้น
-ด้วยความซื่อสัตย์ของท่านทำให้ตลอดสมัยที่ ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นสมัยที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยปลอดจากการเมืองมากที่สุด และเป็นยุคที่สามารถรักษาเสถียรภาพเงินตรา ไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง เงินบาท ได้รับได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งในและนอกประเทศ
มีความกล้าหาญเพื่อรักษาความถูกต้อง
-ปี พ.ศ. 2507 ดร.ป๋วย ได้กล่าวสุนทรพจน์ของสมาคมธนาคารไทย เพื่อเตือนสติผู้มีอำนาจ มีใจความว่า จอมพล ถนอม นายกรัฐมนตรีผู้มีคำขวัญประจำใจว่า "จงทำดี จงทำดี จงทำดี" มีนโยบายไม่เห็นด้วยที่รัฐมนตรีจะไปยุ่งเกี่ยว กับ "การค้า" แต่ทำไมจึงมีรัฐมนตรีบางคนไปเป็นกรรมการในธนาคารต่างๆ หรือเป็นเพราะว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่ "การค้า" ชนิดหนึ่ง ซึ่งสุนทรพจน์นี้เป็นที่กล่าวขานกันทั่ว ในยุคสมัยรัฐบาลทหาร ดร.ป๋วย เป็นข้าราชการผู้ใหญ่คนเดียวที่กล้าวิจารณ์ นักการเมือง รัฐมนตรี และนายทหารชั้นสูง ที่มักเข้าไปดำรงตำแหน่งประธานหรือกรรมการธนาคารต่างๆ เพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว
-วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจตัวเอง อาจารย์ป๋วยได้เขียนจดหมายฉบับประวัติศาสตร์จากอังกฤษ โดยใช้ชื่อ นายเข้ม เย็นยิ่ง (ชื่อรหัสสมัยเป็นเสรีไทย) จดหมายฉบับนี้ เขียนถึงผู้ใหญ่บ้านชื่อ ทำนุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม เรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอำนาจการปกครอง คืนเสรีภาพประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ข้อความในจดหมายตอนหนึ่งว่า "ได้โปรดเร่งรัดให้มีกติกาหมู่บ้านขึ้นเถิดโดยเร็วที่สุด ในกลางปี 2515 นี้หรืออย่างช้าก็อย่าให้ข้ามปีไป โปรดอำนวยให้ชาวบ้านไทยเจริญมีสิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธรรม สามารถเลือกตั้งสมัชชาขึ้นโดยเร็ว" จดหมายฉบับนี้ สร้างความไม่พอใจให้กับผู้มีอำนาจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์ป๋วยถือว่าเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนแรก ที่กล้าลุกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์เผด็จการทหารอย่างตรงไปตรงมา ทำให้อาจารย์ป๋วยต้องลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ในระหว่างที่สอนหนังสือที่เคมบริดจ์


------------------------------------------




เชิญอ่านประวัติของท่านได้เลยครับ



ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān[1] 9 มีนาคมพ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เคยเป็นผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย สมาชิกขบวนการเสรีไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และเป็นเจ้าของข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"

ประวัติ

นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกิดที่บ้านตรอกโรงสูบน้ำ ตลาดน้อย เป็นบุตรของ นายซา แซ่อึ้ง และ นางเซาะเซ็ง แซ่เตียว (ประสาทเสรี)[2] ชื่อ "ป๋วย" นั้น บิดาของป๋วยตั้งให้เป็นชื่อตัว ส่วนชื่อสกุลของป๋วย คือ "อึ้ง" ชื่อรุ่นคือ "เคียม" อ่านทั้งสามตัวตามลำดับประเพณีจีน สำเนียงแต้จิ๋วจะเป็น "อึ้ง ป้วย เคียม" แต่ถ้าอ่านโดดๆ วรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป ชื่อสกุลเป็น "อึ๊ง" และชื่อตัวเป็น "ป๋วย". คำว่า "ป๋วย" แปลตรงตัวได้ว่า "พูนดินที่โคนต้นไม้" เพราะตัวประกอบในอักษรระบุไว้เช่นนั้น แต่มีความหมายกว้างออกไปอีกคือ "บำรุง" "หล่อเลี้ยง" "เพาะเลี้ยง" และ "เสริมกำลัง"

กูชายชาญชาติเชื้อชาตรี
กูเกิดมาก็ทีหนึ่งเฮ้ย
กูคาดก่อนสิ้นชี-วาอาตม์
กูจักไว้ลายเว้ยโลกให้แลเห็น
— ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มารดาของป๋วย เป็นบุตรสาวคนแรกของเจ้าของร้านขายผ้าที่สำเพ็ง อยู่ใกล้ตรอกโรงโคม ส่วนบิดาเป็นคนจีน ทำงานช่วยพี่ชายที่แพปลา แถวปากคลองวัดปทุมคงคา ทั้งสองสามีภรรยาไม่ค่อยมีรายได้มากนัก แต่ก็ตั้งใจส่งลูกชายเข้าเรียน ที่แผนกภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนแพง คือปีละ 70 บาทในสมัยนั้น. เมื่อเด็กชายป๋วยอายุได้เก้าขวบ บิดาของป๋วยก็เสียชีวิต โดยไม่มีทรัพย์สินเงินทองทิ้งไว้ให้ ลุงเป็นคนรับอุปการะ ส่งเสียเงินให้เป็นรายเดือน แม้ว่าจะมีปัญหาด้านการเงิน มารดาของป๋วย ก็สนับสนุนให้เรียนหนังสือที่เดิม จนสำเร็จการศึกษา ขณะอายุได้ 18 ปี ป๋วยได้มาเป็นมาสเตอร์ หรือครู ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สอนวิชาคำนวณ และภาษาฝรั่งเศส มีรายได้เดือนละ 40 บาท แบ่งให้แม่ 30 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ป๋วยได้สมัครเข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นนักศึกษารุ่นแรก ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียน ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์คำบรรยายออกจำหน่ายในราคาถูก วิชาละประมาณ 2 บาท เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่กำลังทำงานอยู่สามารถศึกษาเองได้ ป๋วยใช้เวลาในตอนค่ำและวันหยุดเรียนอยู่ 4 ปี ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมายและการเมือง ในปี พ.ศ. 2480. หลังจากนั้น ก็ลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ มาทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศส ให้แก่อาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2481 ป๋วยสอบชิงทุนรัฐบาล ได้ไปเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลัง ที่ London School of Economics & Political Science มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียง 6 เดือน มารดาของป๋วยก็เสียชีวิตลง
ป๋วยใช้เวลาสามปีก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ป๋วยเป็นนักเรียนดีเด่น และเป็นศิษย์เอกของ ศาสตราจารย์เฟรเดอริก ฮาเย็ก (ซึ่งได้รับ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2517) ป๋วยเป็นคนไทยคนเดียว ในมหาวิทยาลัยนี้ ที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกันในปี พ.ศ. 2485 ได้เกรดเอแปดวิชา และเกรดบีหนึ่งวิชา

การศึกษา

พ.ศ. 2476 - สำเร็จมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ

ประวัติการทำงาน


  • พ.ศ. 2476 - 2480 - ครูโรงเรียน อัสสัมชัญ
  • พ.ศ. 2480 - 2481 - ล่ามภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
  • พ.ศ. 2485 - 2488 - รับราชการในกองทัพแห่งสหราชอาณาจักรเพื่อทำงานให้ขบวนการเสรีไทย
  • พ.ศ. 2492 - 2499 - เศรษฐกร ประจำกระทรวงการคลัง ผู้ชำนาญการคลัง กรมบัญชีกลาง ผู้เชี่ยวชาญการคลัง กระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2496 - รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ดำรงตำแหน่งอยู่ 7 เดือน)
  • พ.ศ. 2499 - 2502 - ที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลัง ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน
  • พ.ศ. 2502 - 2509 - ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
  • พ.ศ. 2502 - 2514 - ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2505 - 2510 - ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2507 - 2515 - คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2508 - ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]
  • พ.ศ. 2510 - 2515 - ที่ปรึกษากระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2513 - ศาสตราจารย์พิเศษ Woodrow Wilson School, Princeton University สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2514 - 2516 - ศาสตราจารย์พิเศษ University College (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Wolfson College), มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, สหราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2516 - 2518 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2517 - 2518 - ประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2518 - 2519 - อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชีวิตการทำงาน

งานการเมือง

จากผลการเรียนอันดีเด่นของป๋วย ทำให้ได้รับทุนลีเวอร์ฮูล์ม สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้ทันที แต่ในระหว่างนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้น ทำให้ป๋วยตัดสินใจทำงานเพื่อชาติ

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทย รัฐบาลไทยในสมัยนั้น ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศสงครามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และต่อมาก็ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยเรียกตัวคนไทย ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ให้เดินทางกลับ โดยขู่ว่า ผู้ที่ไม่เดินทางกลับจะถูกถอดสัญชาติไทย ปรากฏว่าคนไทยจำนวนหนึ่ง ได้จัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ในนามของขบวนการเสรีไทย ภายในประเทศมี นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ เป็นหัวหน้า ส่วนในสหรัฐอเมริกามี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทย เป็นหัวหน้า เสรีไทยปฏิเสธการประกาศสงครามของรัฐบาลไทย ซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกา ประกาศรับรองฐานะของเสรีไทย
ส่วนทางด้านอังกฤษ ปรากฏว่าอัครราชทูตไทยยอมเดินทางกลับประเทศตามคำสั่งของรัฐบาล แต่ป๋วยและคนไทยจำนวนหนึ่งไม่ยอมกลับประเทศ และได้ร่วมกันก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ เพื่อประกาศไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติรัฐบาลไทยที่ยอมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เสรีไทยจำนวน 36 คน สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพบกอังกฤษ เสรีไทยกลุ่มนี้มีฉายาว่า "ช้างเผือก" (White Elephants) ในช่วงแรก ป๋วยได้รับยศเป็นร้อยเอกแห่งกองทัพบกอังกฤษ มีชื่อจัดตั้งว่า "นายเข้ม เย็นยิ่ง"
นายเข้ม เย็นยิ่ง ต่อมาได้รับคำสั่งให้ลงเรือบรรทุกทหารจากลิเวอร์พูล เล่นเรืออ้อมทวีปแอฟริกา มาขึ้นฝั่งที่ประเทศอินเดีย ได้มาฝึกหลักสูตรนักรบแบบกองโจรและการจารกรรม ที่เมืองปูนา มีการฝึกการใช้อาวุธ และวิธีการต่อสู้ต่างๆ เป็นเวลาครึ่งปี ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 นายเข้มเป็นทหารฝ่ายสัมพันธมิตรชุดแรก ที่ได้รับคำสั่งให้เข้ามาติดต่อกับขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ที่มี "รูธ" หรือ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า เพื่อหาทางตั้งสถานี วิทยุติดต่อระหว่างกองทัพอังกฤษในอินเดียกับคณะเสรีไทย
พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ร้อยตรีเข้มได้เดินทางด้วยเรือดำน้ำของราชนาวีอังกฤษพร้อมสหายอีกสองคนจาก ลังกา โดยมีเป้าหมายจะขึ้นฝั่งที่ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อมาถึงที่หมายเรือดำน้ำจอดซุ่มรอนอกฝั่งหนึ่งสัปดาห์ แต่ไม่มีคนมารับจึงยกเลิกภารกิจ จึงกลับสู่ศรีลังกา ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ร้อยตรีเข้มได้รับมอบภารกิจอีกครั้ง ให้ลักลอบเข้าแผ่นดินไทย โดยการกระโดดร่มพร้อมอุปกรณ์เครื่องรับส่งวิทยุ จึงได้เดินทางไปฝึกซ้อมกระโดดร่ม ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ที่แคว้นปัญจาบ พอวันที่ 6 มีนาคม ร.ต.เข้ม และเสรีไทยอีกสองคนมาขึ้นเครื่องบิน บี 24 ที่กัลตัตตา ประเทศอินเดีย มุ่งมาสู่แผ่นดินไทย เป็นการกระโดดร่มแบบสุ่ม ไม่มีคนมารับที่ภาคพื้นดิน แต่สภาพอากาศไม่อำนวย เครื่องบินจึงเดินทางกลับไปกัลกัตตา. อีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา เสรีไทยทั้งสามคนก็ขึ้นเครื่องบินอีก เพื่อปฏิบัติภารกิจเดิม โดยเข้ามาทางจังหวัดชัยนาท เสรีไทยทั้งสามคนกระโดดร่มลง แต่ ร.ต.เข้ม ถูกเจ้าหน้าที่ไทยและชาวบ้าน ช่วยกันล้อมจับกุมตัวไว้ได้ และถูกตั้งข้อหาว่า ทรยศต่อชาติและทำจารกรรม ถูกซ้อม และผลักเข้าสู่กอหนาม โดยมีเจ้าหน้าที่เอาปืนจ่อข้างหลัง และถูกนำมาขังล่ามโซ่ไว้บนศาลาวัดวังน้ำขาว อำเภอวัดสิงห์ เป็นเวลาหลายวัน จึงถูกส่งตัวมาลงเรือยนต์ล่องลำน้ำเจ้าพระยา เข้ามาที่ตึกสันติบาลในกรุงเทพฯ
ด้วยความช่วยเหลือของตำรวจที่เป็นเสรีไทย ร.ต.เข้ม จึงมีโอกาสเข้าพบกับ นายปรีดี พนมยงค์ ทำให้ฝ่ายเสรีไทย เริ่มส่งวิทยุไปยังกองทัพอังกฤษที่อินเดีย ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ทำให้หน่วยทหารจากอังกฤษและสหรัฐฯ สามารถเล็ดลอดเข้ามาปฏิบัติงานในแผ่นดินไทยได้สะดวกขึ้น ในการทิ้งระเบิดของอังกฤษ นายป๋วยได้ประสานติดต่อกับอังกฤษ แจ้งพิกัดไม่ให้เครื่องบินมาทิ้งระเบิดพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนวังต่างๆ ทางอังกฤษก็ได้ตอบรับ ทำให้สถานที่สำคัญเหล่านี้ สามารถอยู่รอดปลอดภัยมาจนทุกวันนี้
ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง นายปรีดีส่งนายป๋วยกลับไปอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อไปเจรจาให้รัฐบาลอังกฤษ ยอมรับว่าขบวนการเสรีไทย เป็นรัฐบาลอันชอบธรรมของไทย ทำนองเดียวกับที่สหรัฐได้รับรองมาก่อนแล้ว และเจรจาให้อังกฤษ ยอมปล่อยเงินตราสำรอง ที่รัฐบาลไทยฝากไว้ที่ธนาคารกลางอังกฤษ
เมื่อสงครามโลกยุติ นายป๋วยได้รับยศพันตรีแห่งกองทัพบกอังกฤษ ได้เป็นหนึ่งในผู้แทนไทย เดินทางไปเจรจาทางการทหาร และการเมืองกับฝ่ายอังกฤษ ที่นครแคนดี ประเทศศรีลังกา ได้ร่วมกับเสรีไทยจากอเมริกาอารักขา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระอนุชาที่กัลกัตตา จากนั้น นายป๋วยก็คืนยศทหารแก่กองทัพอังกฤษ แล้วกลับไปแต่งงานกับ มาร์กาเร็ต สมิท ในปี พ.ศ. 2489 และเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน

ครอบครัว

        ดร ป๋วย มีบุตรดังต่อไปนี้

งานด้านการเงิน การคลัง

ปี พ.ศ. 2491 ป๋วยได้เรียนสำเร็จปริญญาเอก โดยใช้เวลาสามปีทำวิทยานิพนธ์ "เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการควบคุมดีบุก" แต่เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศไทย นายปรีดี พนมยงค์ ถูกทหารทำรัฐประหาร ทำให้สถานการณ์ไม่ปลอดภัย ทางญาติขอให้ป๋วยยังไม่ต้องรีบกลับมา


เมื่อครั้งดำรงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2492 ดร.ป๋วย ก็เดินทางกลับประเทศไทย บริษัทห้างร้านต่างๆ จำนวนมากทั้งในและนอกประเทศ ต้องการตัวดร.ป๋วยไปทำงานโดยเสนอให้เงินเดือนสูงๆ แต่ในที่สุด ดร.ป๋วย ก็เลือกที่จะรับราชการ เนื่องจากถือว่า ตนเองนอกจากจะเกิดเมืองไทย กินข้าวไทยแล้ว ยังได้รับทุนเล่าเรียนรัฐบาลไทย คือเงินของชาวนาชาวเมืองไทย ไปเมืองนอกแล้วผูกพันใจว่าจะรับราชการไทยด้วย
ดร.ป๋วย เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งเศรษฐกร กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้รับเงินเดือน ประมาณ 1,600 บาท สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังอยู่ในสภาพฟื้นตัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ดร.ป๋วย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยฝ่ายวิชาการของปลัดกระทรวงการคลัง และกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2496 ดร.ป๋วย ก็ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหามากในสมัยนั้น กลับมีเสถียรภาพมากขึ้น นักธุรกิจมั่นใจค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศ ทำให้ราคาสินค้าลดลง และเงินสำรองระหว่างประเทศก็ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2496 คณะรัฐมนตรีมีมติ ให้ ดร.ป๋วย พ้นจากตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไปรับราชการเป็นผู้เชี่ยวชาญการคลัง กระทรวงการคลัง เนื่องจาก ดร.ป๋วย ปฏิเสธการที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต้องการซื้อ สหธนาคารกรุงเทพจำกัด แต่เนื่องจากธนาคารแห่งนั้น กระทำผิดระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย และกำลังถูกปรับเป็นเงินหลายล้านบาท จอมพลสฤษดิ์ ขอให้ ดร.ป๋วย ยกเลิกการปรับ แต่ ดร.ป๋วย ปฏิเสธ และยืนกรานให้คณะรัฐมนตรีปรับธนาคารแห่งนั้น ในที่สุดคณะรัฐมนตรี ก็ปฏิบัติตามข้อเสนอของ ดร.ป๋วย
ต่อมา พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก็พยายาม เสนอให้บริษัทแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตนเองมีผลประโยชน์อยู่ด้วย เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตรไทยแทน บริษัท โทมัส เดอลารู, คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ดร.ป๋วยเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้ ดร.ป๋วย ตรวจพบว่า บริษัทดังกล่าวฝีมือไม่ดี ปลอมง่าย และมีชื่อเสียงในการวิ่งเต้น จึงไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอให้เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตร จึงทำรายงานเสนอ ให้ใช้ บริษัทโทมัส เดอลารูตามเดิม แต่ถ้าหากจะตัดสินใจให้บริษัทอเมริกันเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร ก็จะออกจากราชการ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของ ดร.ป๋วย, เหตุการณ์ครั้งนี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นอย่างมาก ผู้มีอำนาจในประเทศขณะนั้น ต่างไม่พอใจ ดร.ป๋วย เพื่อความปลอดภัย พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงได้ให้ ดร.ป๋วย ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจการคลัง ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยในอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2499 และยังได้เป็นผู้แทนไทย ประจำคณะมนตรีดีบุกระหว่างประเทศ มีผลทำให้ ไทยสามารถขายแร่ดีบุก เป็นสินค้าออกสำคัญของประเทศได้มากขึ้น
ปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง จอมพลสฤษดิ์ได้ให้ ดร.ป๋วย กลับเมืองไทยเข้ามาช่วยงาน ต่อมาเมื่อ นายโชติ คุณะเกษม ลาอกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จอมพลสฤษดิ์ได้โทรเลขไปถึง ดร.ป๋วย ซึ่งกำลังประชุมคณะรัฐมนตรีดีบุกโลกที่กรุงลอนดอน เสนอให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ ดร.ป๋วย ปฏิเสธไปว่า ไม่ขอรับตำแหน่งนี้ เพราะเมื่อตอนเข้าเป็นเสรีไทย ได้สาบานไว้ว่า จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ จนกว่าจะเกษียณอายุราชการ เพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้หวังแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นเสรีไทย เมื่อ ดร.ป๋วย กลับจากอังกฤษ จอมพลสฤษดิ์ก็แต่งตั้ง ให้ ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อีกตำแหน่งหนึ่ง ดร.ป๋วย จึง ควบคุมทั้งนโยบายด้านการเงิน การคลังและ งบประมาณของประเทศ ในขณะที่อายุได้ เพียง 43 ปี นอกจากนั้น ดร.ป๋วย ยังมีบทบาทสำคัญ ในการผลักดันให้มี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการสภาพัฒน์ เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
แม้ว่า ดร.ป๋วย จะมีตำแหน่งที่สูง แต่ก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ชอบนุ่งกางเกงเวสต์ปอยต์มาทำงาน ไม่มีชุดดินเนอร์แจ็กเกตเป็นของตนเอง ชอบกินก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้มกุ๊ย และเต้าฮวย
ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 12 ปี นับเป็นผู้ว่าการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด ตลอดสมัยที่ ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นสมัยที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยปลอดจากการเมืองมากที่สุด และเป็นยุคที่สามารถรักษาเสถียรภาพเงินตรา ไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง เงินบาท ได้รับได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้มีการค้าขายและการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเงินทุน สำรองระหว่างประเทศก็เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มขยายสาขาออกไปสู่ภูมิภาค สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรได้สำเร็จ ไม่จำเป็นต้องไปพิมพ์ธนบัตรในต่างประเทศ มีการอออกพระราชบัญญัติ ธนาคารพาณิชย์ปี พ.ศ. 2505 ซึ่งถือเป็นแม่บทของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนนำเทคนิคนโยบายทางการเงินที่ สำคัญๆ เช่น อัตราเงินสดสำรองอัตราส่วนลดมาใช้ และชักจูงให้ธนาคารปฏิบัติตามกฎระเบียบ อันจำเป็นต่อการ เสริมสร้างความมั่นคงในระบบการธนาคาร และอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขามากขึ้น และขยายไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้กิจการธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
ปี พ.ศ. 2507 ดร.ป๋วย ได้กล่าวสุนทรพจน์ของสมาคมธนาคารไทย เพื่อเตือนสติผู้มีอำนาจ มีใจความว่า จอมพล ถนอม นายกรัฐมนตรีผู้มีคำขวัญประจำใจว่า "จงทำดี จงทำดี จงทำดี" มีนโยบายไม่เห็นด้วยที่รัฐมนตรีจะไปยุ่งเกี่ยว กับ "การค้า" แต่ทำไมจึงมีรัฐมนตรีบางคนไปเป็นกรรมการในธนาคารต่างๆ หรือเป็นเพราะว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่ "การค้า" ชนิดหนึ่ง กลอนนั้นมีข้อความว่า
ยังจนในไม่รู้อยู่ข้อหนึ่ง จอมพล ถ ท่านแถลงแจ้งเป็นเรื่อง
ท่านปรารมภ์ผมก็เห็นเด่นประเทือง ว่าใครเฟื่องเป็นผู้ใหญ่ในราชการ
ตัวอย่างเช่นเป็นรัฐมนตรี ไม่ควรมีการค้ามาสมาน
อย่าเกี่ยวข้องเที่ยวรับทำเป็นกรรมการ สมาจารข้อนี้ดีจริงเจียว
ผมสงสัยไม่แจ้งกิจการค้า หมายความว่ากิจการใดบ้างยังเฉลียว
กิจการธนาคารท่านผู้ใหญ่จะไม่เกี่ยว หรือจะเหนี่ยวรั้งไว้ไม่นับค้า
— ป๋วย อึ๊งภากรณ์
สุนทรพจน์นี้เป็นที่กล่าวขานกันทั่ว ในยุคสมัยรัฐบาลทหาร ดร.ป๋วย เป็นข้าราชการผู้ใหญ่คนเดียวที่กล้าวิจารณ์ นักการเมือง รัฐมนตรี และนายทหารชั้นสูง ที่มักเข้าไปดำรงตำแหน่งประธานหรือกรรมการธนาคารต่างๆ เพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว เมื่อจอมพลถนอมทราบความ ก็ยินยอมลาออกจากตำแหน่งกรรมการธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่มีรัฐมนตรีคนใดลาออกตาม

งานด้านการศึกษา

ปี พ.ศ. 2507 ดร. ป๋วย เข้ารับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจะลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ถูกนายกรัฐมนตรียับยั้งไว้ ขณะนั้นคณะเศรษฐศาสตร์ มีอาจารย์ประจำเพียงสี่คน อาจารย์ป๋วยจึงเร่งผลิตอาจารย์ โดยประกาศรับสมัครคนรุ่นใหม่ แล้วหาทุนส่งไปเรียนต่างประเทศ ทำให้คณะเศรษฐศาสตร์เติบโตขึ้น ภายในเวลาเพียงสิบปี มีอาจารย์เพิ่มนับร้อยคน ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก


เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สิงหาคม พ.ศ. 2508 ดร. ป๋วย ได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในคำประกาศเกียรติประวัติ มีข้อความตอนหนึ่งว่า "บุคคลสำคัญ ผู้แสดงบทบาทอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยมีเสถียรภาพการเงินควบคู่กันไป นายธนาคารระหว่างประเทศ ยกย่องว่านายป๋วยเป็น ผู้ว่าการธนาคารกลางที่มีความสามารถดีเด่นคนหนึ่งของโลก ... การกระทำของนายป๋วยยังเป็นแรงบันดาลใจ สำหรับข้าราชการผู้ขยันขันแข็ง นายป๋วยผู้ถือได้ว่า ความเรียบง่าย คือความงาม และความชื่อสัตย์สุจริต คือคุณความดีสูงสุดของชีวิตข้าราชการ เป็นหลักประจำใจซึ่งยึดถือมาช้านาน และได้เผยแพร่กับเพื่อนร่วมงาน ด้วยว่า ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ผู้แสวงหาความจริง และผู้ใช้วิชาชีพ จะต้องไม่เป็นเพียงผู้ที่คอยเรียนรู้อยู่เสมอ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น หากยังต้องมีความชื่อสัตย์สุจริต และต้องแสดงให้ปรากฏออกมาถึง ความชื่อสัตย์สุจริตนั้นอย่างเพียงพอ ที่จะเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความชื่อสัตย์สุจริตด้วย"
ปี พ.ศ. 2510 ดร. ป๋วย ได้ร่วมกับเพื่อนนักธุรกิจ นักการเงิน นักการเมือง และเชื้อพระวงศ์ร่วมก่อตั้ง มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่า เป็นโครงการพัฒนาชนบทแห่งแรกขององค์กรพัฒนาเอกชน โดยได้แนวคิดจาก ดร. วาย เยน ที่มีแนวคิดว่า การพัฒนาชนบทและการพัฒนาคุณภาพของคน จะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยการส่งเสริม การพึ่งตนเอง การร่วมมือกันของชาวบ้าน การศึกษา การอนามัย การอาชีพ. แนวทางของมูลนิธิบูรณะชนบทฯ ในการทำงานกับชาวบ้านคือ "ไปหาชาวบ้าน อยู่กับเขา เรียนรู้จากเขา วางแผนกับเขา ทำงานกับเขา เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ สร้างจากสิ่งที่เขามี สอนโดยชี้ให้เห็น เรียนจากการทำ..." โครงการของมูลนิธิบูรณะชนบท ดำเนินการอยู่ในเขตจังหวัดชัยนาทเป็นหลัก ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากชาวบ้านที่นั้น เคยช่วยชีวิต ดร. ป๋วย เมื่อครั้งเป็นเสรีไทย
ปี พ.ศ. 2513 อาจารย์ป๋วยได้ลาพัก ไปสอนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อเรียนรู้เรื่องมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ ให้ทันการณ์ โดยรับเงินเดือนจากธนาคารชาติดังเดิม แต่ขอให้มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันจ่ายเงินเดือนอันท่านพึงจะได้ให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย นับว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำไร
ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ดร. ป๋วย ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รวมเวลาที่ ดำรงตำแหน่ง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน จึงมารับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์อย่างเต็มตัว เพื่อต้องการทุ่มเทให้ กับการศึกษาอย่างจริงจัง และได้ลาไปสอนพิเศษและทำวิจัยอีกครั้งที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร
วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจตัวเอง อาจารย์ป๋วยได้เขียนจดหมายฉบับประวัติศาสตร์จากอังกฤษ โดยใช้ชื่อ นายเข้ม เย็นยิ่ง (ชื่อรหัสสมัยเป็นเสรีไทย) จดหมายฉบับนี้ เขียนถึงผู้ใหญ่บ้านชื่อ ทำนุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม เรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอำนาจการปกครอง คืนเสรีภาพประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ข้อความในจดหมายตอนหนึ่งว่า "ได้โปรดเร่งรัดให้มีกติกาหมู่บ้านขึ้นเถิดโดยเร็วที่สุด ในกลางปี 2515 นี้หรืออย่างช้าก็อย่าให้ข้ามปีไป โปรดอำนวยให้ชาวบ้านไทยเจริญมีสิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธรรม สามารถเลือกตั้งสมัชชาขึ้นโดยเร็ว" จดหมายฉบับนี้ สร้างความไม่พอใจให้กับผู้มีอำนาจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์ป๋วยถือว่าเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนแรก ที่กล้าลุกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์เผด็จการทหารอย่างตรงไปตรงมา ทำให้อาจารย์ป๋วยต้องลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ในระหว่างที่สอนหนังสือที่เคมบริดจ์
ปี พ.ศ. 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังครบวาระ และยืนยันว่าจะไม่รับตำแหน่งต่อ อาจารย์และนักศึกษาได้มีประชามติ ให้อาจารย์ป๋วยเป็นอธิการบดีคนต่อไป ในระหว่างวันที่ 9-18 กุมภาพันธ์ อาจารย์ป๋วยได้เดินทางกลับมาเมืองไทย ได้เข้าพบ จอมพลถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส จารุเสถียร อาจารย์ป๋วยได้ถามผู้มีอำนาจทั้งสองว่า จะขัดข้องไหม ถ้าหากท่านจะเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่ต้องการให้รับตำแหน่ง เพราะกลัวว่าอาจารย์ป๋วยจะใช้พลังนักศึกษา เป็นพลังต่อต้านรัฐบาล
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ภายหลังรัฐบาลทหารถูกขับไล่ออกไป อาจารย์ป๋วยได้รับแต่งตั้งให้ เป็นประธานที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ ในสมัยรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์. มีการเรียกร้องให้อาจารย์ป๋วยเข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แต่อาจารย์ป๋วยไม่รับ เนื่องจากความ ปรารถนาของอาจารย์ป๋วยไม่ได้อยู่ที่การเมือง แต่เป็นเรื่องการศึกษา และการพัฒนาชนบท. เมื่อมีการเสนอชื่อ อาจารย์ป๋วยให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านไม่ปฏิเสธ. อาจารย์ป๋วยเป็นศิษย์ธรรมศาสตร์คนแรก ที่ได้รับเลือกตั้งจากชาวธรรมศาสตร์ ให้เป็นอธิการบดีคนที่ 10 เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2518 อาจารย์ป๋วยได้ให้แนวทางแก่ธรรมศาสตร์ ในการขยายไปยังรังสิต ให้ขยายตัวไปในสาขาวิทยาศาสตร์เพื่อเกื้อหนุนกัน การรับนักเรียนเรียนดีจากชนบทเข้ามาศึกษา หรือ โครงการช้างเผือก การให้คณะต่างๆ จัดทำโครงการบริการสังคม
ในขณะนั้น ความขัดแย้งทางการเมืองได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง ฝ่ายซ้ายที่มีแนวคิดทางสังคมนิยม กับฝ่ายขวาคือผู้สูญเสียอำนาจไป มีขบวนการขวาพิฆาตซ้ายออกอาละวาด ผู้นำนักศึกษา ชาวนา กรรมกร ถูกลอบสังหารจำนวนมาก โดยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เคยจับกุมฆาตกรได้ ธรรมศาสตร์กลายเป็นเวทีและศูนย์กลางการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม มีการชุมนุมการบ่อยครั้ง อาจารย์ป๋วย กลายเป็นหนังหน้าไฟ ถูกบีบอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝ่าย. ฝ่ายขวาก็กล่าวหาว่า อาจารย์ป๋วยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักศึกษา เป็นคอมมิวนิสต์ที่คิดจะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตั้งตัวเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี. ในขณะที่ฝ่ายซ้าย ก็โจมตีว่าอาจารย์ป๋วยเป็นเผด็จการ ขัดขวางการทำงานของขบวนการนักศึกษา หลายครั้งอาจารย์ป๋วยก็ทะเลาะกับนักศึกษา ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำกิจกรรมทางการเมือง เพราะเห็นว่า บางครั้งนำไปสู่อันตราย...

จากเมืองไทย

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 กลุ่มบุคคลในเครื่องแบบและกลุ่มกระทิงแดง ได้ทำการปิดล้อม และใช้อาวุธยิงถล่มเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยไม่สนใจต่อคำขอร้องของผู้ชุมนุมภายใน ที่ต้องการเจรจาโดยสันติ มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก นักศึกษาบางคนถูกจับแขวนคอ บางคนถูกเผาทั้งเป็น และผู้หญิงบางคนถูกข่มขืน จนถึงแก่ความตาย เวลา 10.00 น. อาจารย์ป๋วยออกแถลงการณ์ลาออกในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่มีคนจำนวนมากบาดเจ็บ และล้มตายภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของท่าน สภามหาวิทยาลัยได้ให้อาจารย์ป๋วยเดินทางออกนอกประเทศ เนื่องจากฝ่ายขวากำลังล่าตัวอาจารย์ป๋วย ในเวลาเย็นวันนั้น เกิดรัฐประหารขึ้นโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ เวลา 20.00 น. อาจารย์ป๋วยได้เดินทางออกนอกประเทศไปยุโรป บันทึกความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519

เมื่ออาจารย์ป๋วยอยู่นอกประเทศ ก็ได้เดินทางไปพบคนไทยในต่างประเทศ และบุคคลสำคัญในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน เดนมาร์ก ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ เหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศไทยเวลานั้น เพื่อเรียกร้องให้เกิดประชาธิปไตย ในเมืองไทยอย่างสันติวิธี ปี พ.ศ. 2520 อาจารย์ป๋วยเดินทางไปให้การต่อ คณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสืบพยาน เรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ 6 ตุลา
เดือนกันยายน พ.ศ. 2520 อาจารย์ป๋วยได้ล้มป่วยด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานนับสามเดือน อาการเส้นโลหิตในสมองแตก ได้ส่งผลกระเทือนสมองส่วนที่แปลความคิดเป็นคำพูด ทำให้อาจารย์ป๋วยไม่สามารถพูดได้อย่างคนปกติ ท่านพูดออกเสียงได้เล็กน้อยเท่านั้น นับเลขได้ 1-2-3 ถึง 10 แต่ต้องเริ่มต้นที่เลข 1 เสมอ ในช่วงบั้นปลายชีวิต อาจารย์ป๋วยใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ในบ้านเก่าแก่ที่ประเทศอังกฤษ สามารถเดินไปไหนได้ แม้ว่ามือขวาจะยังใช้การได้ไม่ค่อยดี, พูดได้น้อย แต่ก็สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างให้เข้าใจได้

ดร.ป๋วย ในวัยชรากับหลานชาย
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2530 อาจารย์ป๋วยเดินทางกลับมาเมืองไทย หลังจากที่ต้องออกจากบ้านเกิดไป เมื่อเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นครั้งแรก พร้อมด้วยภรรยา ลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลานอีกสองคน มีบรรดาเพื่อนๆ ลูกศิษย์ และคนรู้จักมากมายมาพบปะ เยี่ยมเยือนที่บ้านเก่าซอยอารีย์ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2530 ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย พนักงานประมาณ 2,000 คน มายืนต้อนรับการกลับมาของอาจารย์ป๋วย คนธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นแบบอย่างดีที่สุดของข้าราชการเมืองไทย. ในตอนบ่าย ขณะรถอาจารย์ป๋วยกำลังจะแล่นออกไป หลายคนพยายามเข้าไปใกล้ชิดอาจารย์มากที่สุด จนอาจารย์ป๋วยไขกระจกรถลง แล้วยื่นมือออกมาให้พนักงานได้สัมผัส หลายคนร่ำไห้ออกมาอย่างไม่อายใคร ที่บุคคลซึ่งตนให้ความนับถือ และเคารพรัก กำลังจะจากไป
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2530 อาจารย์ป๋วยได้มาร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ และเดินไปบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดทางมีนักศึกษายืนต้อนรับ มีนักศึกษายืนถือป้ายข้อความว่า " ปลื้มใจนักเตี่ยกลับบ้าน " " ลูกโดมมิลืมอาจารย์ป๋วย " "ยังข้นและยังเข้ม ดุจเกลือเค็มในแผ่นดิน ดีกว่าน้ำปลาริน อันปรุงรสละลายหอม" วันที่ 20 เมษายน เดินทางเยี่ยมมูลนิธิโกมลคีมทอง วันที่ 21 เมษายน เดินทางไปเยี่ยมคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเยี่ยมโครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม (คอส.) และ วันที่ 25 เมษายน อาจารย์ป๋วยก็เดินทางออกจากเมืองไทย จากนั้นก็ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดอีกครั้ง ในปีพ.ศ. 2536 พ.ศ. 2538 และครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2540
วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ถึงแก่กรรมที่บ้าน ณ กรุงลอนดอน แคว้นอังกฤษ สหราชอาณาจักร เนื่องจากเส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้องโป่งแตก (aortic aneurysm) อายุได้ 83 ปี "ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตองในงานศพให้วุ่นวายไป" จากข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ทางครอบครัวได้ทำการเผาศพ และบรรจุอัฐินำกลับมาเมืองไทย วันที่ 16 สิงหาคม และ วันที่ 28 สิงหาคม บริเวณท่าเรือสัตหีบ เรือหลวงกระบุรี แห่งราชนาวีไทย ได้นำครอบครัวอึ้งภากรณ์ และแขกประมาณ 200 คน มุ่งหน้าสู่เกาะครามนำอังคารของอาจารย์ป๋วยไปลอยทะเล

คำกล่าวเกี่ยวกับป๋วย

บุคคลผู้นี้ ไม่เคยแสวงหาอำนาจ ไม่เคยแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ไม่เคยเห็นแก่อามิสสินจ้าง มีเพียงความชื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่การงาน มีเพียงความรักชาติอย่างพร้อมจะสละชีวิตเพื่อแผ่นดินแม่ มีเพียงความจริงใจ ให้แก่ประเทศอันเป็นที่รักยิ่ง มีเพียงความกล้าหาญทางจริยธรรม ไม่ยอมก้มหัวให้แก่อำนาจ อธรรมฝ่ายใด มีเพียงความปรารถนาดีและความรักเพื่อนมนุษย์ผู้ทุกข์ยาก ชายชราผมสีดอกเลาท่าทางใจดี จะเป็นตำนาน อยู่ในใจของผู้คนไปชั่วนิรันดร์[4]

An honest man in a corrupt country
คนตรงในประเทศคด
— ดร. อัมมาร สยามวาลา
ที่มา
http://th.wikipedia.org