Sunday, July 21, 2013

ชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 1-9 Thai dress

ชุดไทยถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยอย่างหนึ่ง มีความสวยงามและเรียบร้อย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรรักษาไว้ซึ่งหากศึกษากันอย่างลึกๆแล้วก็จะทราบถึงที่มาการเปลี่ยนแปลงของชุดในแต่ละยุคด้วย ครั้งนี้ขอนำเสนอชุดไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-9 ก่อนนะครับ




รัชกาลที่ 1-3
หญิงชาวบ้านนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสะไบเฉียงทับเหมือนอย่างอยุธยา ผมยังตัดไว้เชิงสั้นอยู่ หรือไว้ผมปีก (ไว้ผมยาวเฉพาะบนกลางศีรษะ)




รัชกาลที่ 1-3
หญิงชาววัง นิยมนุ่งผ้าจีบ ห่มสะไบเฉียงทับเหมือนอย่างอยุธยา ไว้ผมปีกปล่อยจอนที่ข้างหู




รัชกาลที่ 4
หญิงนุ่งผ้าลายโจงกระเบน ใส่เสื้อคอปิดแขนยาว ห่มสะไบเฉียง (อบร่ำ) ทับตัวเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ทรงผมนิยมไว้ปีกผม




รัชกาลที่ 5
ปลายรัชกาลที่ 5 หญิงไทยเลิกนุ่งผ้าจีบ เปลี่ยนมาโจงกระเบนแทน เสื้อเป็นแบบผรั่งคอตั้งสูง แขนยาวมีลูกไม้ตกแต่งเป็นระบายหลายชั้น สวมถุงเท้า รองเท้าส้นสูง ผมยาวประบ่า







รัชกาลที่ 5
ผู้หญิงเริ่มหันไปนิยมเสื้อของอังกฤษ คือ เสื้อคอตั้งแขนยาว ต้นแขนพองคล้ายขาหมูแฮม แต่ยังคงมีผ้าห่มเป็นแพรแบบสะไบเฉียง นุ่งผ้าจีบไว้ชายพก ผมไว้ทรงดอกกระทุ่ม







รัชกาลที่ 6
ต้นรัชกาลที่ 6 ผู้หญิงยังคงนุ่งโจงกระเบน แต่สวมเสื้อลูกไม้แบบตะวันตก คอเสื้อลึก แขนยาวเสมอข้อศอก มีผ้าแพรบางๆ สะพายทับ ผมนิยมไว้ยาวเสมอต้นคอ







รัชกาลที่ 6
ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อตัวยาวหลวมๆ ส่วนมากใช้ผ้าลูกไม้ฝรั่ง ปักเป็นลวดลายด้วยลูกปัด และไข่มุก ผมเกล้ามวยแบบฝรั่ง หรือดัดเป็นลอน ดัดผมแบบ ทรงซิงเกิ้ล







รัชกาลที่ 7-8
ผู้หญิงเลิกใช้สะไบแพรปัก นิยมนุ่งผ้าซิ่นแค่เข่า เสื้อทรงกระบอกตัวยาว ตัดแบบตะวันตก ไว้ผมบ็อบ ใส่ต่างหูและกำไล สวมสร้อยคอ







รัชกาลที่ 7-8
ผู้หญิงเลิกใช้สะไบแพรปัก นิยมนุ่งซิ่นแค่เข่า เสื้อทรงกระบอกตัวยาว ตัดแบบตะวันตก ไว้ผมบ็อบ ใส่ต่างหูและกำไล สวมสร้อยคอ







รัชกาลที่ 9
ผู้หญิงแต่งแบบไทยพระราชนิยม "ไทยจักรพรรดิ" ใช้ซิ่นไหมข้างหน้า มีชายพกเอวจีบห่มสะไบ ปักงดงาม ใช้แต่งในโอกาสพิเศษ
(เครดิต http://www.baanjomyut.com)
























No comments:

Post a Comment