ที่อยากนำเสนอเรื่องการไหว้นี้เพราะตัวผมเองคิดว่าเป็นวัฒนธรรมที่เราพบเห็นได้บ่อยที่สุดแต่กลับเป็นสิ่งที่หลายคนละเลย คือไหว้ไม่ค่อยสวยเอาเสียเลย(รวมทั้งตัวผมเองด้วย) ทั้งๆที่การไหว้ของประเทศไทยถือว่าเป็นเอกลักษณ์และสวยงามมาก ลองสังเกตได้จากของที่อื่นในเรื่องการทักทายของเขาจะไม่อ่อนช้อยงดงาม อาจจะมีบ้างบางประเทศที่มีการไหว้แต่เค้าก็ไหว้ไม่ค่อยสวยเหมือนบ้านเรา(ไม่ได้เชียร์ประเทศตัวเองนะแต่เห็นแล้วรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ) วันนี้เลยเก็บข้อมูลที่เค้าทำเรื่องนี้ไว้ให้ดูกันครับ
How to wai
1. Put the palms together. According to Buddhism, Thais call wai 'pra-nom-mue' (keep waiing all the time) or 'unchalee'. When waiing, put your palms together, straighten and press your finger tips together. Raise your palms to your chest and keep your elbows close to your body. When talking to priests and the royal family, Thais always 'pra-nom-mue.' When leaving these respectful people, the younger usually 'unchalee' them.
2. Bow your head. Wai can be in the form of 'wan-ta.' In so doing, Thais bow their heads and high their palms up until the index fingers touch their mouths or noses, depending on the person who they wai.
วีดีโอแสดงการไหว้(Video show how to Wai)
วัฒนธรรมของเมืองไทยที่เป็นเอกลักษณ์ที่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นเรา รุ่นลูก และรุ่นหลาน ที่ควรต้องรักษาไว้ซึ่ง “เรื่องการไหว้” เพราะการไหว้ของคนไทย เป็นการแสดงกิริยาที่งดงาม ไม่เหมือนกับประเทศอื่น ดูได้จากคนต่างชาติที่มีการไหว้เหมือนกับประเทศเราคือ ประเทศอินเดีย หรือประเทศเนปาล การไหว้ของพวกเขาดูไม่สวย ไม่งามตา เหมือนกับคนไทยไหว้ ดูขัด ๆ ตา เหมือนเป็นการไหว้แบบขอไปที (เห็นเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ได้เข้าข้างคนไทย ดูแล้วไม่อ่อนช้อย อาจเป็นเพราะคนไทยมีความละเอียดอ่อนก็ได้) ซึ่งน่าจะเป็นเอกลักษณ์อีกเรื่อง ที่เราคนไทยควรรักษาไว้
การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน "การไหว้" เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า "สวัสดี" แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย "การขอบคุณ" และ การขอโทษ" การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิ ต รไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล เเละเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ
ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดังนี้
ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถืออย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
การไหว้ผู้เสมอกัน ทั้งชายและหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม แต่การไหว้ของคนไทยส่วนมากจะคู่กับยิ้ม
ยิ้ม
“เห็นนางแย้มเหมือนหนึ่งแก้มแม่แย้มยิ้ม ดูเพราพริ้มสุดงามทรามสงวน
อบเชยเหมือนพี่เชยเคยชมชวน ให้นิ่มนวลนอนแนบแอบอุรา”
นิราศพระแท่นดงรัง
รอยยิ้มบนใบหน้าของคนเรามีหลากหลายรูปแบบ ฉะนั้นจึงมีการยิ้มที่ต่างกันทั้งหน้าตาและมุมยิ้มต่าง ๆ ที่บ่งบอกความหมายในการยิ้ม เช่น ยิ้มกริ่ม : ความลำพองใจจึงกระหยิ่มยิ้มด้วยสีหน้า , ยิ้มแฉ่ง : ยิ้มออกมาอย่างร่าเริง , ยิ้มแต้ : ยิ้มค้างอย่างเบิกบานอยู่นานเหมือนปลาบปลื้มในที่สิ่งที่พึ่งใจ, ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ : ยิ้มแล้วยิ้มเล่าด้วยความพออกพอใจ , ยิ้มแป้น : ยิ้มหน้าบาน และเป็นชื่อเพลงลูกทุ่งร้องและแต่งโดย พจน์ พนาวัน , ยิ้มเผล่ :ยิ้มอย่างอิ่มเอมใจ, ยิ้มพราย : ยิ้มในทีด้วยความภาคภูมิใจ, ยิ้มย่อง: ยิ้มด้วยความดีใจ,ยิ้มเยาะ: ยิ้มแบบเย้ยหยัน หรืออาจเรียกว่า พยักยิ้ม ก็ได้, ยิ้มแย้ม : ยิ้มออกมาอย่างอารมณ์ดี ,ยิ้มละไม : ยิ้มอยู่ในหน้า บ้างทีก็เรียกว่า อมยิ้ม , ยิ้มหวาน: ยิ้มอย่างทอดไมตรี, ยิ้มหัว: ก็อาการที่ยิ้มไปหัวเราะไป, ยิ้มเหย: อาการที่ปริยิ้มออกมาเมื่อถูกจับผิดได้, ยิ้มแห้ง: ยิ้มแบบเหงาๆ แห้งๆ ในลักษณะฝืนยิ้มเยี่ยงคนอกหัก , ยิ้มแหย : ฝืนยิ้มออกมาเมื่อถูกจับได้ว่าทำผิด,ยิ้มเห็นแก้ม แย้มก็ไรฟัน เป็นคำสร้อยที่บอกอาการของคนที่ค่อยเผยยิ้มแต่น้อยๆ
สิ่งที่ดีที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เราควรรักษาไว้ แต่สังคมไทยปัจจุบันสิ่งดี ๆ เหล่านี้กำหายไปโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นหลัง ๆ แทบจะไม่ทักทายกัน ไม่ไหว้กัน จากภาพผมว่าคนไทยบางคนยังต้องอายเลย เพราะยิ้มและไหว้ไม่สวยเท่าเธอ ถึงเวลาหรือยังครับที่เราเป็นคนไทยแท้ัปล่อยให้วัฒนธรรมการไหว้นี้ให้คนต่างชาติต่างภาษาเป็นตัวแทนเรา และอย่าให้ประเทศอื่นที่เขาทำ และเขาทำได้อย่างจริงจัง... มันจะกลายเป็นว่า... คนไทยไม่รู้จักรักษาของ... ปล่อยให้ประเทศอื่นเขาเอาไปเป็นเอกลักษณ์ของเขา...
ขอขอบคุณ
-http://www.engjang.com
-http://www.learners.in.th/
-
No comments:
Post a Comment