Monday, July 22, 2013

ชุดไทยพระราชนิยม Formal Thai national costume


ชุดสตรีไทยพระราชนิยม หมายถึง ชุดแต่งกายประจำชาติ ของ สตรีไทย สวมใส่ ใน งานพิธี หรือ งานพระราชพิธ ีต่างๆ เช่น งาน พิธีหมั้น งานพิธี มงคลสมรส เป็นชุด ที่มี เอกลักษณ์ เฉพาะ มีหลายรูปแบบ ตัดเย็บ ด้วย ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าใยประดิษฐ์ อาจเป็น ผ้าพื้น ผ้าลายดอก ผ้าลายริ้ว ผ้ายกดิ้น เงินดิ้นทอง หรือ ผ้ายกดอก เต็มตัว ใช้วัสดุเกาะ เกี่ยวข้อง ที่เหมาะสม เช่น ซิป ตะขอ กระดุม ที่ห่อหุ้ม จากผ้า ตัวเสื้อ อาจตกแต่ง ให้สวยงาม ด้วย การปักมุก เลื่อม ลูกปัด

The formal Thai national costume, known in Thai as ชุดไทยพระราชนิยม (RTGS: chut Thai phra ratcha niyom, literally Thai dress of royal endorsement), includes several sets of clothing designed for use as national costume in formal occasions. Although described and intended for use as national costume, they are of relatively modern origins, having been conceived in the second half of the twentieth century.


ที่มาของชุดไทยพระราชนิยม
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมี พระราชนิยม เรื่อง การใช้ ผ้าไทย มาตั้งแต่ ทรงพระเยาว์ เมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา ฯ ประกาศหมั้น ครั้งนั้น ได้มี นักหนังสือพิมพ์ ชาวต่างประเทศ ขอสัมภาษณ์ ซึ่งพระองค์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะสนับสนุน และ ส่งเสริมการแต่งกาย ที่เป็น แบบไทย เมื่อพระองค์ ยังเป็น พระคู่หมั้น ได้ใช้ ผ้าไทย และ ซิ่นไทย ส่วนชุดใน พระราชพิธี อภิเษกสมรส ได้ใช้ชุดที่ ตัดเย็บ ด้วย ผ้าไทย เมื่อพระราชพิธี ได้ผ่านไปแล้ว พระองค์ได้ทรง ปฏิบัติตาม พระราชปณิธาน ดังกล่าวต่อมา และได้มี เครื่องแต่งกาย แบบไทย ตาม พระราชนิยม ขึ้น ซึ่งกลายเป็น เอกลักษณ์ ทาง การแต่งกายประจำชาติ มาจนทุกวันนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมี พระราชดำริ เรื่องการ แต่งกายประจำชาติ ของสตรีไทย ตั้งแต่คราวเสด็จฯ เยือนประเทศ เพื่อนบ้าน เป็นครั้งแรก ในสมัยนั้นยังไม่มี ชุดไทย ต่างๆ ตามพระราชนิยม ได้ทรงคิดใช้ ไหมไทย ผ้าไทย และ ผ้ายก ต่างๆ มา ประดิษฐ์ตกแต่ง เป็น ฉลองพระองค์ เพื่อให้แสดงถึงของ ความเป็นไทย ทรงเจริญรอย สมเด็จพระพันปีหลวง สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เรื่องการ ใช้ฉลองพระองค์ ทรงให้ ท่านผู้หญิง มณีรัตน์ บุนนาค ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ทางประวัติศาสตร์ และ การแต่งกาย ของ สตรีไทย สมัยโบราณ มาประยุกต์ และ ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อ ชุดไทย นี้ขึ้น ตามแบบ ต่างๆ ซึ่งได้ แนวคิด จาก ชื่อ พระตำหนัก และ พระที่นั่ง โดยชุดไทยพระราชทานมีดังต่อไปนี้


1. ชุดไทยเรือนต้น (Thai Ruean Ton)
ลักษณะ เสื้อ แขน กระบอก นุ่งกับ ผ้าซิ่น ทอลาย ขวาง ใช้ได้ ในหลาย โอกาส เช่น เป็น ชุดเช้า ไว้ใส่ บาตร ไปวัด หรือ ไปงาน มงคล ต่าง ๆชุดไทยเรือนต้น คือ ชุดไทยแบบลำลอง ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมีลายริ้วตามขวางหรือตามยาว หรือใช้ผ้าเกลี้ยงมีเชิงตัวซิ่นยาวจรดข้อเท้าป้ายหน้า เสื้อใช้ผ้าสีตามริ้วหรือเชิงสีจะตัดกับซิ่นหรือเป็นสีเดียวกันก็ได้เสื้อคนละท่อนกับซิ่น แขนสามสวนกว้างพอสบาย ผ่าอก ดุมห้าเม็ด คอกลมตื้น ๆ ไม่มีขอบตั้ง เหมาะไช้แต่งไปในงานที่ไม่เป็นพิธีและต้องการความสบายเช่น ไปงานกฐินต้นหรือเที่ยวเรือ เที่ยวน้ำตก





2. ชุดไทยบรมพิมาน (Thai Boromphiman)
ลักษณะ เสื้อ เข้ารูป แขน กระบอก คอตั้ง ติดคอ ผ่าหลัง อาจจะ เย็บติด กับ ผ้านุ่ง ก็ได้ หรือ แยกเป็น คนละ ท่อน ก็ได้ เช่นกัน ส่วน ผ้านุ่ง ใช้ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง ตัดแบบ หน้านาง มีชายพก สำหรับ แต่งใน งาน ราชพิธี หรือ ในงาน เต็มยศ หรือ ครึ่งยศ เช่น งานฉลอง สมรส พิธีหลั่ง น้ำ พระ พุทธมนต์
ชุดไทยบรมพิมาน คือ ชุดไทยพิธีตอนค่ำที่ใช้เข็มขัดใช้ผ้าไหมยกดอกหรือยกทองมีเชิงหรือยกทั้งตัวก็ได้ ตัวเสื้อและซิ่นตัดแบบติดกัน ซิ่นมีจีบข้างหน้าและมีชายพก ใช้เข็มขัดไทยคาดตัวเสื้อแขนยาว คอกลม มีขอบตั้ง ผ่าด้านหลัง หรือด้านหน้าก็ได้ ผ้าจีบยาวจรดข้อเท้า แบบนี้เหมาะสำหรับผู้มีรูปร่างสูงบาง สำหรับใช้ในงานเต็มยศและครึ่งยศ เช่นงานอุทยานสโมสรหรืองานพระราชทานเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการในคืนที่มีอากาศเย็น ใช้เครื่องประดับสวยงามตามสมควรผู้แต่งประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์




3. ชุดไทยจิตรลดา (Thai Chitlada)
ลักษณะ เสื้อ แขน กระบอก นุ่งกับ ผ้าซิ่น ทอลาย ขวาง ใช้ได้ ในหลาย โอกาส เช่น เป็น ชุดเช้า ไว้ใส่ บาตร ไปวัด หรือ ไปงาน มงคล ต่าง ๆ

ชุดไทยจิตรลดา คือ ชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงมีเชิงหรือ เป็นยกดอกหรือตัวก็ได้ ตัดแบบเสื้อกับซิ่น ซิ่น ยาวป้ายหน้าอย่างแบบลำลอง เสื้อแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งน้อย ๆ ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งแต็มยศ เช่น รับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการที่สนามบิน ผู้แต่งไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เนื้อผ้าควรงดงามให้เหมาะสมโอกาส




4. ชุดไทยจักรพรรดิ (Thai Chakkraphat)
ลักษณะ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง มีเชิง สีทอง ตัดแบบ หน้านาง มี ชายพก ห่มด้วย สไบ ปัก ลูกปัด สีทอง เป็นเครื่อง แต่งกาย สตรี สูงศักดิ์ สมัย โบราณ ปัจจุบัน ใช้เป็น เครื่อง แต่งกาย ชุด กลางคืน ที่ หรูหรา หรือ เจ้าสาว ใช้ใน งาน ฉลอง สมรส ยามค่ำ เครื่อง ประดับ ที่ใช้ รัดเกล้า ต่างหู สร้อยคอ สังวาลย์ สร้อยข้อมือ

ชุดไทยจักรพรรดิ คือ ชุดไทยห่มสไบคล้ายไทยจักรี แต่ว่ามีลักษณะเป็นพิธีรีตรองมากกว่า ท่อนบนมีสไบจีบรองสไบทึบ ปักเต็มยศบนสไบชั้นนอก ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม ใช้สวมในพระราชพิธีหรืองานพิธีต่าง ๆ ที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติ




5. ชุดไทยศิวาลัย (Thai Siwalai)
ลักษณะ เสื้อตัวในไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มทับด้วยสไบ แบบมีชายเดียว ทิ้งชายสไบยาวด้านหลัง ปักด้วยลูกปัดทอง นุ่งทับด้วยผ้าซิ่นไหม ยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ เป็นเครื่องแต่งกาย ของสตรี บรรดาศักดิ์ ปัจจุบันใช้ในงาน เลี้ยงฉลอง สมรส หรือเลี้ยงอาหารค่ำ

ชุดไทยศิวาลัย มีลักษณะเหมือนชุดไทยบรมพิมานแต่ว่า ห่มสไบ ปักทับเสื้ออีกชั้นหนึ่งใช้ในงานพระราชพิธี หรืองานพิธีเต็มยศเหมาะแก่การใช้แต่งช่วงที่มีอากาศเย็น



6. ชุดไทยจักรี (Thai Chakkri)
ลักษณะ เสื้อตัวในไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มทับด้วยสไบ แบบมีชายเดียว ปักดิ้นทอง ชุดไทยจักรี เดิมจะไม่ปัก นุ่งทับด้วยผ้าซิ่นไหม ยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ สำหรับ แต่งในงาน เลี้ยงฉลองสมรส หรือ ราตรีสโมสรที่ไม่เป็นทางการ

ชุดไทยจักรี คือชุดไทยประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน




7. ชุดไทยอมรินทร์ (Thai Amarin)
ลักษณะ เสื้อ แขน ยาว คอกลม ตั้ง ติดคอ นุ่งกับ ผ้าซิ่น ไหม ยกทอง ตัดแบบ ซิ่นป้าย สำหรับ แต่งใน งานพิธี ใช้ได้ ในหลาย โอกาส

ชุดไทยอมรินทร์ คือ ชุดพิธีตอนค่ำ ใช้ยกไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว เสื้อกับซิ่นแบบนี้อนุโลมให้ สำหรับผู้ไม่ประสงค์คาดเข็มขัด ผู้มีอายุจะใช้คอกลมกว้าง ๆ ไม่มีขอบตั้งและแขนสามส่วนก็ได้ เพราะความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้า และเครื่องประดับที่จะใช้ให้เหมาะสมกับงานเลี้ยงรับรอง ไปดูละครในตอนค่ำและเฉพาะในงานพระราชพิธีสวนสนามในวันเฉลิมพระชนมพรรษาผู้แต่งชุดไทยอมรินทร์ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์




8. ชุดไทยดุสิต (Thai Dusit)
ลักษณะ เสื้อ คอกลม กว้าง ไม่มีแขน เข้ารูป ปักแต่ง ลายไทย ด้วย ลูกปัด ใช้กับ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง ลาย ดอกพิกุล ตัดแบบ หน้านาง มี ชายพก ใช้ใน งาน ราตรี สโมสร หรือ เป็นชุด ฉลอง สมรส เครื่อง ประดับ ที่ใช้ ต่างหู สร้อยคอ แหวน

ชุดไทยดุสิต คือ ชุดไทยคอกว้าง ไม่มีแขนใช้ในงานกลางคืนแทนชุดราตรีแบบตะวันตก ตัวเสื้ออาจปักหรือตกแต่งให้เหมาะสม กับงานกลางคืน ตัวเสื้ออาจเย็บติดหรือแยกคนละท่อนกับซิ่นก็ได้ ซิ่นใช้ผ้ายกเงินหรือทองจีบชายพก ผู้แต่งอาจใช้เครื่องประดับแบบไทยหรือตะวันตกตามควรแก่โอกาส



9. ชุดไทยประยุกต์ (Thai Prayook)
ลักษณะ ดัดแปลง มาจากชุดไทยจักรี ตัวเสื้อตัวใน ตัดแบบแขนนางชี จับเดรฟ ทิ้งชายยาว ตัวเสื้อติดกับ ผ้าซิ่นยกดอก ลายไทย ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับพองาม นิยมมาก ในงาน ราตรีสโมสร หรือ เลี้ยงฉลอง สมรส



ขอขอบคุณ 
-http://www.portfolios.net/
-wikipedia.org
-กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี


No comments:

Post a Comment